หิ่งห้อย หรือ ทิ้งถ่วง (Firefly) เป็นแมลงปีกแข็งในวงศ์ Lampyridae ในอันดับ Coleoptera ทั่วทั้งโลกมีหิ่งห้อยประมาณ 2,000 ชนิด หิ่งห้อยตัวเต็มวัยเพศผู้มีปีก ส่วนเพศเมียมีทั้งมีปีกและไม่มีปีก บางชนิดมีปีกสั้นมาก (Brachypterous)
ชนิดที่ไม่มีปีกรูปร่างลักษณะคล้ายตัวหนอน หนอนของทิ้งถ่วงเป็นตัวห้ำกินหอยฝาเดียว ไส้เดือน กิ้งกือ และแมลงตัวเล็กๆเป็นอาหาร ทิ้งถ่วงมีลักษณะเด่น คือสามารถทำแสงได้ทั้งระยะหนอน ดักแด้ แลตัวเต็มวัย ส่วนระยะไข่ทำแสงได้เฉพาะบางชนิดเท่านั้น
หิ่งห้อยมีอวัยวะทำแสงอยู่บริเวณส่วนท้องด้านล่าง เพศผู้มีอวัยวะทำแสง 2 ปล้อง เพศเมียมี 1 ปล้อง แต่บางชนิดตัวเต็มวัยเพศเมียมีรูปร่างลักษณะคล้ายหนอน มีอวัยวะทำแสงด้านข้างของลำตัว เกือบทุกปล้องแสงของทิ้งถ่วงเกิดจากปฏิกิริยาของสารลูซิเฟอริน (Luciferin) ที่อยู่ในอวัยวะทำแสงกับออกซิเจน มีเอนไซม์ลูซิเฟอเรส (Luciferase) เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา และมีสารอดีโนซีนไตรฟอสเฟต (Adenosine Triphosphate,ATP) เป็นตัวให้พลังงานทำให้เกิดแสง ทิ้งถ่วงกะพริบแสงเพื่อการผสมพันธุ์และสื่อสารซึ่งกันและกัน
หิ่งห้อยชนิด “ลูซิโอลา อะควอติลิส” ที่ค้นพบโดย ดร.อัญชนา ท่านเจริญ นักกีฏวิทยาจากมหาวิทยาเกษตรศาสตร์ มีวิธีสื่อสารด้วยแสงได้ถึง 4 แบบ
(187)