ดาวทะเลที่มีลวดลายสีสันสวยงามที่สุดในโลก (ตอนที่1)

Red-knobbed starfish หรือที่รู้จักกันในชื่อ ดาวทะเลปุ่มแดง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Protoreaster linckii เป็นสายพันธุ์ดาวทะเลที่อาศัยอยู่ตามชายฝั่งทะเล โดยเฉพาะบริเวณที่เป็นโขดหินและพื้นทรายที่เป็นโคลน และทราย ในแถบอินโด-แปซิฟิก กินอาหารจำพวกหอยสองฝา โดยเฉพาะหอยนางรม, กุ้ง, ปู, หนอนตัวแบน, หนอนท่อ และสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ตัวโตเต็มที่จะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 30 เซนติเมตร


Cushion star มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Culcita novaeguineae เป็นสายพันธุ์ดาวทะเลที่สามารถพบได้ในแถบอินโดแปซิฟิก ตัวโตเต็มที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางได้ถึง 30 เซนติเมตร รูปร่างของมันจะอ้วนกลมจนมีลักษณะคล้ายกับหมอนอิง มีหลากหลายสีสัน กินเศษซากสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง รวมถึงปะการังเป็นอาหาร


Giant sea star มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pisaster giganteus เป็นสายพันธุ์ดาวทะเลที่สามารถพบได้ตามแนวชายฝั่งตะวันตกของทวีปอเมริกาเหนือ ลักษณะตัวโตเต็มที่อาจมีความยาวของเส้นผ่านศูนย์กลางได้ถึง 61 เซนติเมตร ผิวของมันจะเป็นสีน้ำตาล และจะมีส่วนที่เป็นหนามสีฟ้า ขาว ชม พู ม่วง ขึ้นอยู่บนผิวอีกด้วย

  doxzilla  

Nine-armed Sea Star มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Luidia senegalensis เป็นสายพันธุ์ดาวทะเลที่สามารถพบได้ที่ระดับความลึกถึง 40 เมตร ทางภาคตะวันตกของมหาสมุทรแอตแลนติก พวกมันมีแขนทั้งหมด 9 แขน มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 30 – 40 เซนติเมตร


Pink short spined star มีชื่อวิทยาว่า Pisaster brevispinus เป็นสายพันธุ์ดาวทะเลที่สามารถพบได้ ทางตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิก ตัวโตเต็มที่สามารถมีน้ำหนักได้ถึง 2 ปอนด์ เป็นดาวทะเลที่มีสีสันสวยงาม นอกจากนี้บริเวณแขนของมันนั้นยังมีหนามขนาดความยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร อยู่เป็นจำนวนมา


Bat sea star มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Patiria miniata กระจายพันธุ์อยู่แถบ มหาสมุทรแปซิฟิก ความพิเศษของมันคือแขนแต่ละแขนนั้นเชื่อมต่อติดกัน เสมือนเป็นแขนของค้างคาวจึงกลายเป็นชื่อเรียกทั่วไป โดยทั่วไปแล้วพวกมันจะกินสัตว์ที่ตายแล้วที่อยู่ตามพื้นมหาสมุทรเป็นอาหาร


Granulated sea star มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Choriaster granulatus กระจายพันธุ์อยู่แถบแอฟริกาตะวันออก อินโดแปซิฟิก ฟิจิ เกรตแบร์ริเออร์รีฟ ปาปัวนิวกินี พวกมันจะอาศัยอยู่ที่ระดับความลึกประมาณ 40 เมตร จะกินสาหร่ายและเศษซากของสัตว์ขนาดเล็กที่ตายแล้ว

(978)