2012 DA14 เป็นดาวเคราะห์น้อยที่เข้ามาใกล้โลก ซึ่งมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 50 เมตร มีมวลประมาณ 190,000 ตัน มีระยะเวลาการโคจร 317.2 วัน มีความเอียง 11.60 ° ระยะในการหมุนต่อรอบ เท่ากับ 6 ชั่วโมง
2012 DA14 ถูกค้นพบเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2012 โดย Observatorio Astronomico de La Sagra, ที่กรานาดาในประเทศสเปน ขณะนั้นห่างจากโลก 2,600,000 กิโลเมตร
วันที่ 9 มกราคม 2013 ได้มีการสังเกตเห็น 2012 DA14 อีกครั้งโดย Las Campanas Observatory และได้สังเกตการโค้งที่เพิ่มขึ้นจาก 79 วัน 321 วัน ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2013 ที่เวลามาตรฐานสากล 19:25 ดาว 2012 DA14 อยู่ห่างจากจุดศูนย์กลางของโลก เป็นระยะ 34,050 กิโลเมตร มันผ่านเหนือพื้นผิวโลกอย่างใกล้ชิดในระยะ 27,743 กิโลเมตร แต่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า
นักดาราศาสตร์พบว่ามีอุกกาบาตขนาดเท่า Asteroid 2012 DA14 ที่โคจรใกล้โลกแบบนี้มากกว่า 500,000 ดวง การค้นพบนี้น้อยกว่า 1 % ของอุกกาบาตที่จะโคจรมาใกล้โลก หากอุกกาบาตขนาดเท่า 2012 DA14 ชนโลก จะคล้ายกับการเกิดระเบิดที่ ทุงกัสก้า Tungguska ไซบีเรีย Siberia เมื่อปี 1908 ซึ่งจะทำเกิดทุ่งราบกว้างกว่า 2,200 ตารางกิโลเมตร เกิดผลกระทบในระดับภูมิภาค (กรุงเทพฯ มีพื้นที่ 1,568 ตารางกิโลเมตร) ขนาดของอุกกาบาตที่ทำลาย ทุงกัสกามีขนาดเล็กกว่า 2012 DA14 (ประมาณ 30-40 เมตร) เพียงเล็กน้อย
(523)