นักล่าแห่งคาลาฮารี : Bat eared Foxes

ท่ามกลางความเงียบสงัดของทะเลทรายคาลาฮารี (Kalahari) ในทวีปแอฟริกายังคงมีเสียงแห่งชีวิตที่ดำเนินไปท่ามกลางดินแดนที่เต็มไปด้วยโหดร้ายแห่งนี้อยู่ “สุนัขจิ้งจอกหูค้างคาว(Bat – eared Foxes)” ที่อาศัยอยู่ในทะเลทรายแห่งนี้ คือเจ้าของเสียงที่ว่านั้นสุนัขจิ้งจอกชนิดนี้ได้รับการขนานนามดังกล่าว ก็เนื่องมาจากหูทรงรีขนาดใหญ่ของพวกมันนั่นเอง สุนัขจิ้งจอกหูค้างคาวดำรงชีวิตอยู่รอดได้จากการฟังที่เป็นเยี่ยม

ไม่ว่าจะเป็นการฟังเสียงของเหยื่อที่จะกลายมาเป็นอาหาร หรือเสียงของอันตรายจากนักล่าชนิดอื่นที่คืบคลานเข้ามาอย่างเงียบกริบนับจากวันแรกที่สุนัขจิ้งจอกหูค้างคาวถือกำเนิดขึ้นมา พวกมันก็ต้องก้าวเข้าโลกของการต่อสู้เพื่อการดำรงชีวิตอันไร้ซึ่งความปรานี การดักฟังเสียง คือหนทางในการอยู่รอด แต่ทว่า การพึ่งพาอาศัยเพื่อนบ้านเพื่อการระแวดระวังภัย ก็เป็นอีกหนทางหนึ่ง มันสามารถช่วยได้มากในเรื่องนี้เพราะเมียร์แคท มีสายตาที่แหลมคมมากมีความตื่นตัวอยู่เสมอ และที่สำคัญ พวกมันหวงแหนลูกน้อยอย่างที่สุด

ซึ่งก็นับว่าเป็นสิ่งดีเพราะว่าในบางครั้ง “แจ๊คกัลหลังดำ (Black – backed Jackal)” ก็เข้ามาป้วนเปี้ยนหากินในบริเวณที่สุนัขจิ้งจอกหูค้างคาวอาศัยอยู่ เจ้าแจ๊คกัลอาจจะดูเหมือนสุนัขจิ้งจอกตัวอื่นๆ แต่ว่าเมื่อสุนัขจิ้งจอกหูค้างคาวมองเห็นว่าเจ้าแจ๊คกับนั้นเป็นภัยคุกคามต่อลูกๆ ของพวกมันอย่างแน่นอน พ่อและแม่สุนัขจิ้งจอกหูค้างคาวก็พร้อมที่จะปกป้องลูกน้อยของพวกมันอย่างเต็มที่

ในฤดูร้อนอันแสนแห้งแล้ง สัตว์หลายชนิดอพยพย้ายถิ่นออกไปจากบริเวณก้นแม่น้ำ “น้อสส็อบ (Nossob)” ที่แห้งขอด ในมุมที่โดดเดี่ยวแห่งหนึ่งของประเทศ บอสวาน่า (Botswana) แต่หลังจากฤดูร้อนสิ้นสุดลงสัตว์จำนวนมากก็จะหวนกลับมายังสถานที่แห่งนี้อีก หากแต่อาณาเขตของเจ้าสุนัขจิ้งจอกหูค้างคาวอาจจะขยายไปถึง 5 ตารางกิโลเมตรแล้ว

  doxzilla  

อาณาเขตของสุนัขจิ้งจอกหูค้างคาว เป็นบริเวณที่พวกมันออกหาอาหารได้เสมอ หากอยู่ท่ามกลางแสงแดด พวกมันจะล่าด้วยการดมกลิ่นหรือใช้สายตา แต่การล่าของสุนัขจิ้งจอกชนิดนี้ยังคงดำเนินต่อไป แม้ในยามที่ความมืดของค่ำคืนโรยตัวลงมา และพวกมันก็จะไว้วางใจหูที่แม่นยำเสมือนเรดาร์ของพวกมัน ถึงเหยื่อจะซุกซ่อนตัวเองอยู่ฝังตัวอยู่ใต้พื้นดิน ก็ยังไม่รอดพ้นการฟังเสียงของสุนัขจิ้งจอกหูค้างคาวไปได้ แมงป่องที่แสนอันตราย จึงต้องตกเป็นอาหารให้กับเจ้าสุนัขจิ้งจอกหูค้างคาว

หากว่าสุนัขจิ้งจอกชนิดนี้ พบกับเผ่าพันธุ์ของตัวเองที่บาดเจ็บ และหลบหนีจากการตามล่ามา พวกมันอาจจะให้ความช่วยเหลือเพียงเล็กน้อย แต่จะไม่มีวันให้พักค้างคืนร่วมด้วยเป็นอันขาด บาดแผลของตัวที่บาดเจ็บจะเป็นดั่งแม่เหล็กอันทรงประสิทธิภาพในการดึงดูดนักล่าชนิดอื่นๆ ให้เข้ามาหา ซึ่งสิงโตก็เป็นหนึ่งในนั้นด้วย

แต่บางครั้ง แขกที่ไม่ได้รับเชิญอาจส่งผลต่อครอบครัวสุนัขจิ้งจอกหูค้างคาวได้ เพราะการย้ายเข้ามาอยู่ของ “สุนัขจิ้งจอกเคป (Cape Foxes)” จอมกระหายเลือดที่กินทุกอย่างแม้แต่ลูกของเมียร์แคททำให้ครอบครัวของเจ้าเมียร์แคทตัดสินใจย้ายที่อยู่ และเจ้าสุนัขจิ้งจอกหูค้างคาวก็จะขาดระบบสัญญาณเตือนภัยล่วงหน้าไปเสียแล้ว ซึ่งระบบดังกล่าวนั้นมีประโยชน์มาก อย่างน้อยจะต้องมีเมียร์แคทหนึ่งตัวคอยเฝ้ายามอยู่เสมอ

เสือชีต้าห์ ก็เป็นนักล่าอีกชนิดหนึ่งที่อาศัยอยู่ในบริเวณเดียวกันนี้ บรรยากาศและความกดดันจากการล่า ของเจ้าเสือชนิดนี้ทั้งของไฮยีนา (Hyena)และของแจ๊คกัลส่งผลให้ครอบครัวสุนัขจิ้งจอกหูค้างคาวต้องย้ายที่อยู่เช่นเดียวกันแต่ทว่า การย้ายสู่บ้านใหม่ ต้องแลกมาด้วยราคาแสนแพง จากการสูญเสียลูกน้อยไปหนึ่งชีวิต นักล่าที่สะกดรอยตามมาได้สังหารมันไปเพื่อเป็นอาหารให้กับตัวเอง

หลังจากฤดูแล้งที่แสนทรมานได้ผ่านพ้นไป หยาดฝนได้พร่างพรูลงมา ส่งผลให้แม่น้ำน้อสส็อบเต็มไปด้วยน้ำอีกครั้งและดึงดูดสรรพชีวิตมาสู่ความชุ่มชื้น อีกไม่นานเจ้าสุนัขจิ้งจอกหูค้างคาวตัวน้อยก็จะเจริญเติบโต และออกไปสร้างครอบครัวของตนเอง เป็นดั่งวัฎจักรของธรรมชาติ เช่นเดียวกับสภาพภูมิอากาศ รวมถึงการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตอีกนานาชนิดที่หมุนเวียนและดำเนินต่อไป เป็นอีกบทหนึ่งของละครแห่งชีวิตในโลกของธรรมชาติ

(352)

ใส่ความเห็น