บัวผุด

บัวผุด (ชื่อวิทยาศาสตร์: Rafflesia kerri Meijer) เป็นกาฝากชนิดหนึ่ง อาศัยอยู่บนรากของพืชจำพวกเถาองุ่นป่า (Tetrastigma) ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า ย่านไก่ต้ม มีลักษณะเด่นที่ดอกซึ่งเป็นดอกเดียวขึ้นจากพื้นดินมีขนาดใหญ่ มีกลิ่นเหม็นมาก ให้เห็นระหว่างฤดูฝน ระหว่างพฤษภาคมถึงเดือนธันวาคม

 

ดอกตูมอยู่จะคล้ายกับหม้อขนาดใหญ่มีกลีบหนาจะมีเส้นผ่าศูนย์กลางของดอก 70-80 เซนติเมตร ที่โคนของดอกมีกลีบนำสีน้ำตาลอมเหลืองเรียงสลับซับซ้อนกันอยู่มาก ภายในดอกจะมีแผ่นแบนคล้ายจาน ด้านบนมีปุ่มคล้ายหนามแหลมจานนี้จะซ้อนเกสรตัวผู้และรังไข่ไว้ด้านล่าง ดอกจะบานอยู่ได้เพียง 4-5 วันเท่านั้น หลังจากนั้นก็จะค่อยๆ ดำเน่าไป

 

ดอกบัวผุดพบใน อำเภอพนม บนพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาสก ในจังหวัดสุราษฎ์ธานี ซึงเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี ในต่างประเทศ พบในป่าดิบตั้งแต่แหลมมลายูลงไป

  

 

บัวผุดที่พบในประเทศไทยได้รับการตั้งชื่อเป็นสปีชีส์ของโลกเมื่อ พ.ศ. 2527 โดย Dr.W.Meijer จากมหาวิทยาลัยเคนตักกี สหรัฐอเมริกา ตั้งชื่อพฤกษศาสตร์สากลเพื่อเป็นเกียรติแก่ Dr.A.F.G.Kerr นายแพทย์ชาวไอริช ผู้สำรวจพันธุ์ไม้ชนิดนี้เป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2472 ดอกนี้ในประเทศไทยมีที่อุทยานแห่งชาติเขาสก จ.สุราษฎร์ธานี

(261)

ใส่ความเห็น