ปีศาจนักดูดเลือด

บนโลกของเรานี้มีนักล่าอยู่หลากหลายสายพันธุ์ แต่หากจะยกตำแหน่งของสุดยอดนักล่าที่มีความน่ากลัวและเป็นอันตรายต่อมนุษย์มากที่สุด ก็เห็นจะหนีไม่พ้นเจ้านักล่าร่างเล็ก ที่โบยบินและใช้ชีวิตอยู่รอบๆ ตัวมนุษย์รวมทั้งได้คร่าชีวิตมนุษย์เราไปมากกว่านักล่าสายพันธุ์อื่นๆซึ่งก็คือ “ยุง (Mosquito)” นั่นเองยุงนั้นได้ชื่อว่าเป็นเพชฌฆาตจอมโหด เพราะทุก ๆ ปีผู้คนราว 500 ล้านคนทั่วโลก ต้องได้รับความทุกข์ทรมานจากโรคร้ายที่มียุงเป็นพาหะ

กว่า 3 ล้านคนต้องสูญเสียชีวิตด้วยโรคร้ายเหล่านั้น ซึ่งในทุกวันนี้มนุษย์เราได้ทราบแล้วว่า ยุงนั้นเป็นพาหะนำเชื้อโรคกว่า 100 โรค โดยที่หลายชนิดนั้นมีความร้ายแรงมากและเชื้อเหล่านั้นสามารถแพร่ได้ด้วยการกัดเพียงครั้งเดียวนับเนื่องจากศตวรรษที่ 17 เมื่อครั้งที่ชายหาดของทวีปอเมริกาถูกรุกราน โดยยุงที่นำพาไข้เหลืองจากกาฬทวีปข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก (Atlantic) มาพร้อมกับเรือขนทาส ยุงเหล่านั้นได้แพร่กระจายไข้เหลืองไปทั่วทวีปส่งผลให้มีผู้คนต้องล้มตายด้วยไข้ชนิดนี้กันอย่างมากมายฑูตแห่งความตายอีกชนิดหนึ่งที่เรารู้จักกันดีก็คือ มาเลเรีย(Malaria)ซึ่งแม้ในปัจจุบัน มนุษย์เราก็ยังไม่สามารถเอาชนะโรคร้ายนี้ได้ รวมถึงไข้ส่า (Dengue Fever) หรืออาการไข้ที่มีการปวดข้อต่อและกล้ามเนื้อ ก็กำลังหวนกลับมาสร้างความหวาดกลัวให้กับมวลมนุษย์อีกครั้ง พร้อมทั้งทวีความรุนแรงขึ้นจนสามารถคร่าชีวิตมนุษย์ได้ภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมงในปีหนึ่งมีการรายงานถึงกรณีของไข้ส่าที่รุนแรงนี้กว่า 10 ล้านคน

ปีศาจร้ายนักดูดเลือดชนิดนี้ยังคงไม่หมดไป และประเทศที่ยากจนที่สุดในเขตร้อนก็ต้องทนทุกข์ทรมานจากการเผชิญหน้ากับเจ้าปีศาจร้ายชนิดนี้มากที่สุดการทำความรู้จักกับศัตรูของเรา พร้อมทั้งการศึกษาวัฏจักรชีวิตของยุงการเรียนรู้พฤติกรรมและชีวิตประจำวันของพวกมันจะช่วยให้มนุษย์เรานั้นสามารถหากลยุทธที่ดีกว่าเดิมในการต่อสู้กับเจ้านักดูดเลือดเหล่านี้ได้บางที สถานที่ที่มีความเหมาะสมที่สุดในโลกในการศึกษาแมลงตัวเล็กๆ ที่แสนร้ายกาจชนิดนี้ก็คงจะเป็นที่บึง “เอเวอร์เกลด (Everglade)” แห่งรัฐฟลอริดา ที่เปรียบได้กับวิมานของยุงในการเป็นแหล่งขยายพันธุ์ที่เหมาะสมสำหรับบรรดายุง

นักกีฏวิทยาผู้เชี่ยวชาญเรื่องยุง – ฟิล ลูนิบอส (Phil Lounibos) พร้อมผู้ร่วมทีมสำรวจ มุ่งหน้าไปที่ทุ่งหญ้าแพร์รี่(Prairie) ริมชายฝั่งในเมืองฟลามิงโก (Flamingo) สถานที่ที่อาจจะกล่าวได้ว่า มีประชากรยุงมากที่สุดในโลกในเวลาหนึ่งนาที ยุงอาจจะเข้ามาตอมได้มากถึง 500 ตัว ภายในระยะเวลาอันสั้นเพียงแค่ไม่กี่นาที ผู้มาเยือนก็ได้ให้อาหารยุงไปแล้วห้าพันถึงหกพันตัว

ยุงมิได้เป็นเพียงพาหะของโรคร้าย ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ยุงบางสายพันธุ์เท่านั้นที่เป็นพาหะนำโรค หากแต่อานุภาพในด้านการกัดที่รุนแรง และการทำตัวเป็นที่น่ารำคาญก็เป็นเรื่องที่สำคัญ เหล่าแมลงนักล่าโลหิตชนิดนี้ได้พิสูจน์ให้เห็นว่า มีความสามารถในการปรับตัวได้อย่างน่าทึ่ง ยุงอยู่ได้ในเกือบทุกสภาพแวดล้อมทั่วทุกมุมโลก ยกเว้นก็แต่เพียง ทวีปแอนตาร์กติกา (Antarctica) โดยอาศัยปัจจัยที่สำคัญต่อความอยู่รอด อย่างเช่น ความร้อน อาหารและที่สำคัญยิ่งเหนือสิ่งอื่นใด ก็คือ น้ำนิ่งขังที่จำเป็นต่อการขยายพันธุ์

  

จากความพยายามในการค้นคว้า มนุษย์เราได้เห็นถึงการสืบพันธุ์ การปรับตัว และวิวัฒนาการของยุงที่ส่งผลให้มียุงมากถึง 3,500 สายพันธุ์ และในแต่ละปี ก็มีการค้นพบเพิ่มขึ้นอีกราวๆ 20 สายพันธุ์ ซึ่งบ้างก็มีลายขาวดำ บ้างก็มีสีทอง ด้วยขนาดของลำตัวที่มีตั้งแต่เล็กกว่า 2 มิลลิเมตร จนถึง 2 เซนติเมตร

ด้วยการเป็นสมาชิกของวงศ์แมลงวัน จึงทำให้ยุงมีลักษณะที่สำคัญเหมือนๆ กับแมลงวัน ซึ่งก็ได้แก่ ปีก 1 คู่ และขา 6 ขา ที่ช่วยให้ยุงเป็นนักล่าจอมพรางตัว สามารถเคลื่อนตัวได้ว่องไวทั้งกลางอากาศ ไปจนถึงบนท่อนแขน อีกทั้งยังนิ่มนวลเสียจนเราไม่ทันสังเกต และก็พร้อมที่จะบินหนีไปได้ทุกทางด้วยปีกที่ปกคลุมด้วยเกล็ดเรียงกัน ที่สามารถกระพือได้เร็วถึง 600 ครั้งต่อวินาที มากกว่านกฮัมมิ่งเบิร์ด (Humming – Bird)ถึง 10 เท่านี่คือต้นเหตุของเสียงหึ่งๆ ที่เรามักจะได้ยินเมื่อยุงบินผ่านเราไป

ยุงทุกตัวต้องการเพียงน้ำหวานจากพืชเพื่อการยังชีพ แต่จะมีก็เพียงยุงเพศเมียเท่านั้นที่มีความกระหายเลือดด้วยเหตุผลในการสืบพันธุ์ เพราะเลือดคือแหล่ง (Protein) ที่สำคัญสำหรับการพัฒนาของไข่ ดังนั้นก่อนการกินเลือดเป็นมื้อแรก เพศเมียจะทำการผสมพันธุ์เสียก่อน จากนั้นจึงมองหาเหยื่อ ด้วยระบบตรวจจับอันเยี่ยมยอดที่ได้วิวัฒนาการมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งประกอบด้วย ดวงตาขนาดใหญ่ที่มีเลนส์ขนาดจิ๋วนับร้อย งวง ที่ทำหน้าที่เป็นเซ็นเซอร์ระยะสั้นคล้ายๆ กับจมูก และเสาอากาศที่เป็นเซ็นเซอร์ระยะไกล สามารถตรวจจับความร้อน ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์(Carbon Dioxide) รวมทั้งกรดแลคติค (Lactic Acid) ที่มนุษย์และสัตว์อื่นๆ ส่งออกมาภายนอกลำตัว

หลังจากที่ยุงตัวเมียลงเกาะบนร่างเหยื่ออย่างแผ่วเบาแล้ว ปีศาจนักดูดเลือดชนิดนี้ก็จะเริ่มมองหาอาหาร พร้อมกันนั้นเครื่องมือผ่าตัดที่ซับซ้อน อันประกอบด้วยเลื่อย รวมทั้งอุปกรณ์ดูดเลือดต่างๆ ที่ถูกเก็บอยู่ที่ งวง หรือแนวปากบน โดยกินความยาว 1 ใน 3 ของร่างกายก็จะเริ่มการดำเนินการทันที

งวง จะมีปลอกที่คอยปกป้องอยู่ ภายในมีเลื่อยขนาดจิ๋ว 4 อัน โดยที่สองอันจะเป็นเลื่อยฟันหยัก และมีความคมเท่ากับมีดผ่าตัดเลยทีเดียว ยุงจะเจาะเข้าไปในผิวหนังของเหยื่อเพียงเสี้ยวเซนติเมตร เพื่อค้นหาเส้นเลือด ในระหว่างการค้นหา ปีกส่วนล่างจะพับกลับ และเมื่อเจาะผ่านผนังเส้นเลือดแล้ว น้ำลายของยุงจะไหลไปตามท่อแคบลงไปสู่บริเวณนั้น ปั๊มสองอันที่หลังหัวจะหดและขยายตัว เพื่อดูดเลือดผ่านงวงขึ้นมาและผ่านเข้าไปในกระเพาะอาหาร ซึ่งโดยมากยุงจะได้รับผลตอบแทนจากกระบวนการดังกล่าวเพียงหนึ่งในพันกรัม แต่เพศเมียจะพยายามดื่มให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ ระหว่าการดื่มกิน พวกมันจะขับน้ำที่ไม่ต้องการออกมา ด้วยการปล่อยหยดน้ำเล็กๆ เพื่อสร้างพื้นที่ให้โปรตีนเพิ่มมากขึ้น

ถึงแม้ว่าร่างกายมนุษย์จะมีกลไกป้องกันการเสียเลือดจากอาการบาดเจ็บ แต่เคล็ดลับของเหล่ายุงก็คือ น้ำลาย ที่ส่งผลให้เส้นเลือดไม่ปิด รวมถึงการที่เลือดไม่แข็งตัว ซึ่งทำให้ไหลเข้าสู่ยุงได้อย่างอิสระ นอกจากนี้ผลร้ายจากน้ำลายดังกล่าวก็ยังทำให้มนุษย์เกิดอาการแพ้ เกิดเป็นตุ่มคัน และสิ่งที่น่ากลัวที่สุดที่อาจเกิดขึ้นได้ก็คือ การที่เชื้อโรคได้ถูกส่งผ่านน้ำลายเหล่านั้นเข้ามาในร่างกายมนุษย์ด้วย ไม่ว่าจะเป็น มาเลเรีย (Malaria) ไข้สมองอักเสบ ไข้เหลือง(Yellow Fever) ไข้เลือดออก (Hemorrhagic Fever) หรือไข้ส่า (Dengue Fever)

ผ่านระยะเวลามานานกว่า 50 ล้านปี เจ้าเพชฌฆาตจอมกระหายเลือดนี้ก็ยังคงอยู่รอดมาได้จนถึงปัจจุบัน อีกทั้งยังเต็มไปด้วยปริศนาอันเร้นลับอีกมากมาย

(549)

ใส่ความเห็น