ภายในอาคารแห่งนี้ ในแต่ละวัน จะมีโทรศัพท์ที่ถูกต่อสายออกกว่า 2 แสนสาย กาแฟที่ถูกบริโภคกว่า 3 หมื่นถ้วย
นาฬิกากว่า 4,200 เรือนที่คอยบอกเวลา และอาจมีการรับ – ส่งอีเมล์(E-mail)มากกว่าหนึ่งล้านฉบับเพื่อภารกิจ
ในการป้องกันประเทศสหรัฐอเมริกาจากภัยคุกคามต่างๆป้อมปราการแห่งนี้ เป็นเสมือนเมืองเล็กๆ เมืองหนึ่ง เพราะมีบริการและความสะดวกสบายแทบทุกอย่างให้กับผู้ที่
ทำงานอยู่ภายในนี้กว่า 23,000 คน ทั้งข้าราชการ ทหาร และพลเรือน ทำให้หลายๆ คนไม่จำเป็นต้องออกไปไหน
เลยตลอดทั้งวัน หลังจากเข้าทำงานแล้ว
ทุกๆวันทหารคนแรกจะมาถึงตั้งแต่เวลาตี 4 (04:00 น.)แล้วพอ 6 โมงเช้า (06:00 น.)ผู้คนก็เริ่มหนาตาขึ้นทั้ง
ทหารและพลเรือน สิ่งนี้คือเรื่องราวที่ดำเนินไปตามจังหวะที่ซ้ำๆ กันของอาคารแห่งนี้ เช่นเดียวกับเหตุการณ์สำคัญที่
เกิดขึ้นภายใน เพนตากอน อยู่เป็นประจำ อย่างเช่น การที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมประชุมกับผู้นำคนสำคัญ
จากต่างชาติ
ลึกเข้าไปภายในอาคารเพนตากอน ในห้อง “วอร์รูม (War Room)” ห้องที่ได้รับการรักษาความปลอดภัยอย่างหนา
แน่นที่สุด เพราะว่าที่นี่คือ ศูนย์ภารกิจของกองทัพ ซึ่งใช้เป็นที่วางแผนและสั่งการ ความวุ่นวายเฉกเช่นสนามรบเกิด
ขึ้นเป็นประจำทุกๆ วัน ข้อมูลที่ได้รับจากสนามรบที่อยู่ไกลออกไปหลายพันไมล์ ข่าวกรองและการสื่อสารลับเฉพาะ
ภาพจากดาวเทียมทหารและพลเรือนถูกส่งตรงเข้ามาเพื่อการวิเคราะห์ตัดสินใจก่อนที่ยุทธวิธีในการรบจะถูกกำหนด
และถูกสั่งออกไป เป็นเช่นนี้มาตลอดนับตั้งแต่เมื่อ สงครามโลกครั้งที่สอง สงครามเวียดนาม จวบจนถึงสงครามพายุ
ทะเลทราย สงครามอ่าวเปอร์เซีย
และก็เป็นครั้งแรกนับจากช่วงเวลาของสงครามโลกครั้งที่สอง ที่นักบินจะต้องบินลาดตระเวณเพื่อค้นหา ศัตรูบน
ท้องฟ้าเหนือป้อมปราการแห่งนี้ประหนึ่งว่าเป็นสนามรบแห่งหนึ่งด้วย ซึ่งก็เชื่อได้ว่า ความวุ่นวายภายใน “วอร์รูม”
จะยังคงเป็นเช่นนี้ต่อไป หากด้วยภารกิจในการปกป้องสันติภาพ และอธิปไตยของสหรัฐอเมริกายังไม่หมดสิ้นไป
อีกหนึ่งห้องที่ได้รับการรักษาความปลอดภัยอย่างหนาแน่นไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน นั่นก็คือ “แทงค์ (Tank)” สถานที่
ที่กล้องแทบจะไม่เคยมีโอกาสได้บันทึกภาพภายในห้องนี้เลย ด้วยเหตุผลที่ว่า ห้องนี้เป็นห้องประชุมลับสุดยอด สำหรับ
การประชุมของผู้บัญชาการเหล่าทัพทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นกองทัพบก กองทัพเรือ นาวิกโยธิน และกองทัพอากาศ ซึ่ง
เป็นผู้ที่ให้คำปรึกษาแก่ท่านประธานาธิบดี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในกิจกรรมเกี่ยวกับการทหารทุกด้าน
จากภายในห้องนี้
ทุกวันนี้มาตรการรักษาความปลอดภัยภายในป้อมปราการแห่งนี้มีความหนาแน่นขึ้นมีการควบคุมอย่างรัดกุม”DPS”
หรือ หน่วยรักษาความปลอดภัย” จะขอตรวจสอบหมายเลขและบัตรผ่านอย่างเข้มงวด หน้าที่ความรับผิดชอบใน
การรักษาความปลอดภัย จะต้องถูกทำให้แน่ใจว่าเต็มไปด้วยความละเอียดถี่ถ้วนอย่างแท้จริง จดหมายลึกลับที่ถูก
ส่ง หรือวางทิ้งไว้เพียงซองเดียว ก็จะต้องถูกตรวจสอบในหลายๆ ขั้นตอนด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการตรวจหาสารระเบิด
การตรวจหาสารเคมี การวิเคราะห์ส่วนประกอบต่างๆ และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งเป็นสิ่งหนึ่งที่ย้ำเตือนว่า เพนตากอน
จะไม่มีวันเหมือนเดิมอีกต่อไป
แต่ถึงกระนั้น สื่อมวลชนก็ยังคงได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดี มีการจัดสร้างห้องสำหรับสื่อมวลชนอย่างสมเกียรติ ด้วย
แนวความคิดที่ว่า การกรำศึกสงครามนั้น มิได้กระทำกันในสนามรบเพียงอย่างเดียวสงคราม แห่งวาทะต้องดำเนิน
ไปพร้อมๆ กันด้วย
อย่างไรก็ดี แม้ว่าสื่อมวลชนสามารถเดินไปทั่วกระทรวงกลาโหม ภายในป้อมปราการแห่งนี้ได้อย่างอิสระ นักข่าวก็
ยังต้องเหน็ดเหนื่อยเป็นอย่างมากในการหาข่าวภายในเพนตากอนโดยการเดินกลับไปกลับมาอยู่ บนเส้นทางของ
ระเบียงที่มีความยาวรวมกว่า 28 กิโลเมตร ตลอดช่วงระยะเวลาการทำงานในแต่ละวัน ทั้งนี้เพราะนักข่าวจะต้องเดิน
เท้าไปหาแหล่งข่าว เพื่อนั่งพูดคุยกันตัวต่อตัว อันเนื่องมาจากข้อมูลต่างๆ นั้นเป็นข้อมูลลับเฉพาะ ที่แม้แต่การสื่อสาร
ทางโทรศัพท์ก็ยังไม่สามารถทำได้
ความสุขสงบที่เคยมีมาอย่างยาวนานของสหรัฐอเมริกาถูกนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลง หลังจากเหตุโศกนาฏกรรม
ในวันที่ 11 กันยายน 2544 ซึ่งเป็นดั่งฝันร้ายจากกระแสประวัติศาสตร์ที่รุนแรง จนยากที่ประชาชนสหรัฐอเมริกา
หรือแม้แต่ผู้คนทั่วทุกมุมโลกจะทำใจให้ยอมรับและลืมสิ่งที่เกิดขึ้นได้
หากแม้เราจะสามารถย้อนวัน, เวลากลับไปอยู่ท่ามกลางบรรยากาศแห่งความโกลาหลของโศกนาฏกรรม ครั้งยิ่ง
ใหญ่ในประวัติศาสตร์วลมนุษยชาติครั้งนั้นได้ เราจะได้เห็นภาพของเครื่องบินโดยสาร โบอิ้ง 757 – เครื่องบินโดยสาร
ขนาดใหญ่ที่พุ่งดิ่งลงมาด้วยความเร็วกว่า 500 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พุ่งเข้าชนข้างตึกเพนตากอน ซึ่งเป็นศูนย์บัญชาการ
กองกำลังป้องกันประเทศของสหรัฐอเมริกา บริเวณวงแหวนชั้นนอกที่สาม ระหว่างระเบียง 4 และ 5 ซึ่งเป็นบริเวณที่
บุคลากรของ กองทัพบก และกองทัพเรือ ทำงานกันอยู่อย่างมากมาย ณ เวลา 09:38 น. ของสหรัฐอเมริกา
เขตหวงห้ามพื้นที่ราว 37,000 ตารางเมตร เต็มไปด้วยความเสียหายอย่างย่อยยับจากแรงกระแทกอันมหาศาล ฝุ่น
ควันคละคลุ้ง เปลวเพลิงโหมกระหน่ำ เศษซากของอาคาร และสิ่งของต่างๆ ทับโถมลงมายังร่างของผู้คนที่ทำงานอยู่
ภายในนั้นความโกลาหลวุ่นวายเกิดขึ้นไปทั่วป้อมปราการอันยิ่งใหญ่แห่งนี้ในวันครบรอบ 60 ปีนับจากวันที่ 11 กันยายน
2484 ซึ่งเป็นวันที่เริ่มการก่อสร้าง “เพนตากอน” ขึ้น โดยใช้ระยะเวลาในการก่อสร้าง 16 เดือน ด้วยน้ำพักน้ำแรง
ของคนงาน 15,000 คนที่ผลัดกันทำงานตลอด24ชั่วโมงภายใต้การดำเนินงานของนายพล เบรฮอน บี โซมเมอร์เวล
(Brigadier General Brehon B. Sommervell) ซึ่งรับหน้าที่เป็น หัวหน้าผู้ควบคุมการก่อสร้างตึก
กรมสงคราม เมื่อ 62 ปีก่อน
184 ชีวิตต้องตกเป็นเหยื่อสังเวยให้กับเหตุการณ์นี้ ซึ่งเป็นเพียงส่วนหนึ่งจากจำนวนหลายพันชีวิตที่ต้องสูญเสียไป
ท่ามกลางความตะลึงงันและความเศร้าโศกเสียใจของมนุษยชาติในเหตุการณ์ “11 กันยายน 2544” ซึ่งถือเป็นความ
อัปยศอย่างร้ายแรงที่กระทรวงกลาโหม ของสหรัฐอเมริกาจะต้องจดจำไว้เพื่อเป็นอนุสรณ์เตือนใจ
เมื่อใดก็ตามที่ชาวอเมริกันนึกถึง “เพนตากอน” สิ่งที่ปรากฏขึ้นมาในมโนภาพนั้น คือ “ป้อมปราการอันแข็งแกร่งและ
ยิ่งใหญ่” ซึ่งไม่เพียงแผ่ร่มเงาปกคลุมอยู่เหนือน่านฟ้ากรุงวอชิงตันเท่านั้น หากแต่เงาอันยิ่งใหญ่นั้นยังพาดผ่านไป
ทั่วน่านฟ้าของสหรัฐอเมริกา และในใจของอเมริกันชนทุกคน |