ผักกูดซึ่งมนุษย์สามารถนำมาปรุงเป็นอาหารได้ นอกจากจะนำมาเป็นอาหารได้แล้วยังนำมาเป็นสมุนไพรได้อีกด้วย ผักกูดมักจะขึ้นอยู่ตามริมน้ำหรือพื้นที่ชุ่มน้ำ มากกว่าในป่าทึบ มักพบบ่อยเพราะเป็นช่วงเจริญเติบโตในฤดูฝน
มีเหง้าสูงได้ 1 เมตร ใบเป็นแผงรูปขนนก ตอนอายุยังน้อยจะแตกเป็นรูปขนนกชั้นเดียวคู่ขนานกันไปตั้งแต่โคนใบถึงปลายใบ เมื่ออายุมากขึ้นใบจะเปลี่ยนเป็นรูปขนนก 2 ชั้น ยอดอ่อนและปลายยอดม้วนงอแบบก้นหอย พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในทวีปเอเชียและโอเชียเนีย
ใบของผักกูดใช้ต้มน้ำดื่มหรือกินสด ช่วยแก้ไข้ตัวร้อน, แก้พิษอักเสบ, บำรุงสายตา, บำรุงโลหิต, แก้โลหิตจาง ป้องกันเลือดออกตามไรฟันและขับปัสสาวะเด็ดขาดมาก ลดความดันโลหิตสูง ลดคอเลสเตอรอลในเม็ดเลือด มีสารบีตา-แคโรทีนและธาตุเหล็กสูง
ส่วนใหญ่จะนำใบอ่อน ช่ออ่อน ของผักกูด ทำแกงกับปลาเนื้ออ่อนน้ำจืด เช่นปลาช่อนหรือลวกจิ้มน้ำพริกชนิดต่างๆ ยำผักกูด, ผักกูดผัดน้ำมันหอย, แกงกะทิกับปลาย่าง, ลวกกะทิ แต่ไม่นิยมกินสด ๆ กันเพราะจะมียางเป็นเมือกอยู่ที่ก้าน
นอกจากนี้แล้ว ผักกูดยังเป็นดัชนีชี้วัดถึงสภาพแวดล้อมให้ได้รู้ว่า บริเวณไหนอากาศไม่ดี ดินไม่บริสุทธิ์ มีสารเคมีเจือปนอยู่ ผักกูดจะไม่ขึ้นหรือแตกต้นในบริเวณนั้นเด็ดขาด
(996)