ฝ้าย เป็นพันธุ์ไม้สกุลกอสไซเพียมในวงศ์ชบา เป็นไม้ขนาดเล็ก ถิ่นเดิมอยู่ในแถบทวีปอเมริกาใต้ ต่อมามีการนำไปปลูกในทวีปแอฟริกา เอเชีย และที่ที่อยู่ในโซนร้อนทั่ว ๆ ไป ฝ้ายเป็นพืชที่ให้เส้นใยโดยเส้นใยของฝ้ายเกือบทั้งหมดเป็นเซลลูโลส คำว่า Cotton มาจากภาษาอาหรับ (AL) qutn قطن
เปลือกหุ้มเมล็ดฝ้ายมีเพกทินซึ่งประกอบด้วยกรดกาแลกทูโรนิกและเมทิลเอสเทอร์เป็นองค์ประกอบ สามารถใช้เป็นตัวดูดซับตะกั่วในน้ำเสียได้ โดยถ้าล้างด้วยโซเดียมไฮดรอกไซด์ก่อนใช้จะดูดซับได้มากขึ้น
องค์ประกอบของฝ้ายประกอบไปด้วย เซลลูโลส 91.00% น้ำ 7.85% สิ่งมีชีวิตอยู่ในเซลล์ของสัตว์และพืช , เพคติน 0.55 สารไขมัน 0.40% เกลือแร่ 0.20%
สำหรับการผลิตของโลกประมาณ 25 ล้านตันต่อปี คิดเป็น 2.5% ของพื้นที่เพาะปลูกของโลก ประเทศจีนเป็นผู้ผลิตฝ้ายที่ใหญ่ที่สุดของโลกซึ่งผลิตได้ถึง 33.0 ล้านเบลล์ รองลงมาคืออินเดีย 27.0 ล้านเบลล์ สถิติปี 2011
ฝ้ายมีแมลงศัตรูหลายชนิดเข้าทำลายอย่างรุนแรง เช่น หนอนเจาะสมอฝ้าย เพลี้ยจั๊กจั่นฝ้าย และเพลี้ยอ่อนฝ้าย ซึ่งนอกจากทำความเสียหายแล้วยังเป็นพาหะของเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคใบหงิกฝ้ายด้วย จำเป็นต้องป้องกันกำจัดแมลงศัตรูเหล่านี้อย่างมีประสิทธิภาพ และทันเวลา
ในประเทศสหรัฐอเมริกา ยุโรป และออสเตรเลีย ใช้เครื่องจักรในการเก็บเกี่ยวฝ้าย ในหลายประเทศฝ้ายยังคงใช้การเก็บเกี่ยวจากแรงงานคน
(280)