พริก เป็นพืชในตระกูล Solanaceae ชื่อภาษาอังกฤษว่า Chilli peppers, chili, chile หรือ chilli มาจากคำภาษาสเปน ว่า chile โดยส่วนมากแล้ว ชื่อเหล่านี้มักหมายถึง พริกที่มีขนาดเล็ก ส่วนพริกขนาดใหญ่ที่มีรสอ่อนกว่าจะเรียกว่า Bell Pepper พริกชนิดต่างๆ มีต้นกำเนิดมาจากทวีปอเมริกา ซึ่งในปัจจุบันนี้ได้มีปลูกกันในหลายประเทศทั่วโลก เพราะพริกเป็นเครื่องเทศที่สำคัญชื่อหนึ่ง และยังมีคุณสมบัติเป็นยาสมุนไพรด้วยเช่นกัน
พริกมีวิตามินซี สูง เป็นแหล่งของกรด ascorbic ซึ่งสารเหล่านี้ ช่วยขยายเส้นโลหิตในลำไส้และกระเพาะอาหารเพื่อให้ดูดซึมอาหารดีขึ้น ช่วยร่างกายขับถ่าย ของเสียและนำธาตุอาหารไปยังเนื้อเยื่อของร่างกาย (tissue) สำหรับพริกขี้หนูสดและพริกชี้ฟ้าของไทย มีปริมาณวิตามิน ซี 87.0 – 90 มิลลิกรัม / 100 g นอกจากนี้พริกยังมีสารเบต้า
พริกยังมีสารสำคัญอีก 2 ชนิด ได้แก่ Capsaicin และ Oleoresinโดยเฉพาะสาร Capsaicin ที่ นำมาใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร และผลิตภัณฑ์รักษาโรค ในอเมริกามีผลิตภัณฑ์จำหน่ายในชื่อ Cayenne สำหรับฆ่าเชื้อแบคทีเรียในกระเพาะอาหาร สาร Capsaicin ยังมีคุณสมบัติทำให้เกิดรสเผ็ด ลดความเจ็บปวดของกล้ามเนื้อ หัวไหล่ แขน บั้นเอว และส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และมีผลิตภัณฑ์จำหน่ายทั้งชนิดเป็นโลชั่นและครีม ( Thaxtra – P Capsaicin) แต่การใช้ในปริมาณที่มากเกินไป อาจมีผลกระทบต่ออาการหยุดชะงักการทำงานของกล้ามเนื้อได้เช่นกัน เพื่อความปลอดภัย USFDA ได้กำหนดให้ใช้สาร capsaicin ได้ ที่ความเข้มข้น 0.75 % สำหรับเป็นยารักษาโรค
Allen Van Deynze ผู้อำนวยการของ Seed Biotechnology Center ของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียเดวิส ทำงานเกี่ยวกับพริกมากว่า 20 ปี เขาได้ศึกษาข้อมูลทางพันธุกรรมว่าส่วนใดเป็นตัวกำหนดความเผ็นร้อน เป็นที่ทราบกันดีว่าความเผ็ดร้อนนั้นมาจากการสะสมของ capsaicinoids ส่วนใหญ่จะอยู่ในบริเวณเยื่อแกนกลางสีขาว หรือเรียกว่า “รก” แต่ไม่ทราบอย่างแน่ชัดว่าตัวใดส่งผลกับระดับความเผ็นร้อนของพริก
ทีมวิจัยได้ศึกษายีนเรียกว่า capsaicin synthase ซึ่งจะมีการแบ่งเป็นสองทาง ทางหนึ่งขึ้นอยู่กับกรดไขมัน อีกทางหนึ่งเป็นตัวกำหนดรสชาติ กลิ่น สี ซึ่งจะอยู่บริเวณแกนที่มีสีขาว ซึ่งหากจะพัฒนาระดับความเผ็ดของพริกนั้นต้องพัฒนายีนที่อยู่บริเวณนี้
(221)