ม้าน้ำเหลือง : Barbour’s seahorse ชื่อวิทยาศา สตร์: Hippocampus barbouri ม้าน้ำเป็นปลากระดูกแข็งที่อาศัยอยู่ในทะเลจำพวกหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์ย่อย Hippocampinae
เป็นปลาที่มีรูปร่างลักษณะแตกต่างไปจากปลาชนิดอื่น ๆ อย่างเห็นได้ชัด ม้าน้ำเหลืองมีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 15 เซนติเมตร เมื่อโตเต็มที่แล้วลำตัวจะมีหนามแต่สั้น และไม่แหลมเหมือนม้าน้ำหนาม (H. spinosissimus) ส่วนใหญ่แล้วมักจะมีลำตัวสีเหลือง
ลักษณะเด่นของม้าน้ำเหลือง คือ จะมีลายบริเวณรอบดวงตาจนถึงปลายปาก
ไม่พบในน่านน้ำไทย แต่จะพบในทะเลแถบอินโดนีเซีย, ฟิลิปปิน และบางส่วนในประเทศมาเลเซีย เป็นม้าน้ำชนิดหนึ่งที่สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้วในที่เลี้ยง โดยลูกม้าน้ำวัยอ่อนเป็นชนิดที่อนุบาลได้ง่าย นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม
ม้าน้ำ เป็นปลาที่นิยมทำเป็นยาจีนตามตำราการแพทย์แบบจีน ด้วยเชื่อว่าบำรุงกำลังและเสริมสมรรถนะทางเพศ โดยจะทำไปตากแห้งและขายเป็นชั่งน้ำหนักขาย ทำให้ม้าน้ำทั่วโลกในปีหนึ่ง ๆ ถูกจับเป็นจำนวนมากเพื่อการนี้ และยังถูกนำไปทำเป็นเครื่องประดับอีก จนกลายทำให้เป็นสัตว์หายากและใกล้สูญพันธุ์ในบางชนิด
(179)