ยีนของปลาแลมป์เพรย์อาจช่วยซ่อมแซมเส้นประสาทไขสันให้สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมได้

งานวิจัยล่าสุดนำทีมโดย Associate Professor Ona E. Bloom  จาก Feinstein Institute for Medical Research. ห้องแล็บการแพทย์ในรัฐนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา เผย ยีนของปลาแลมป์เพรย์อาจช่วยซ่อมแซมเส้นประสาทไขสันให้สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมได้

พวกเขาได้ทำการทดสอบในปลาแลมป์เพรย์ที่ได้รับบาดเจ็บ และเฝ้าสังเกตอาการของพวกมัน พบว่าร่างกายของพวกมันสามารถสร้างสารเคมีที่ทำให้ไขสันหลังที่มีปัญหานั้นดีขึ้นมาได้ ทำให้พวกมันกลับมาว่ายน้ำได้ภายใน 10-12 สัปดาห์ โดยทีมนักวิจัยอาจนำยีนของปลาแลมป์เพรย์ไปช่วยเหลือสัตว์สายพันธุ์อื่น ๆ ได้

Lamprey มีลำตัวยาวลักษณะคล้ายปลาไหล ลำตัวด้านหลังมักจะเป็นสีดำ มีครีบหลังและครีบหาง แต่ไม่มีครีบคู่ ไม่มีเกล็ด ปากจะอยู่ค่อนลงมาทางด้านท้อง มีลักษณะเป็นวงกลมใช้สำหรับดูด มีฟันแหลมคมจำนวนมากที่เจริญดีอยู่ในอุ้งปาก

ปลาแลมป์เพรย์สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 จำพวกใหญ่ ๆ คือ

  
  • แบบธรรมดา จะอาศัยอยู่ตามลำธาร ช่วงชีวิตส่วนใหญ่จะเป็นระยะตัวอ่อนที่กินอาหารแบบกรอง ตัวเต็มวัยมีชิวิตอยู่ 3-4 สัปดาห์ โดยไม่กินอาหารเนื่องจากทางเดินอาหารสลายตัว เหลือเพียงสายของเนื้อเยื้อที่ไม่มีหน้าที่การทำงานและจะตายไปหลังวางไข่
  • ส่วนชนิดที่เป็นปลาทะเลก็จะอพยพคืนถิ่นสู่ทะเล มีอายุยืนยาวกว่าชนิดที่เป็นปลาน้ำจืด เมื่อเข้ามาวางไข่ในน้ำจืดจะไม่กินอาหาร

ปลาแลมป์เพรย์จำพวกนี้สามารถดำรงชีวิตได้เอง โดยการกินสัตว์อื่นเป็นอาหาร มีความยาวโดยเฉลี่ยประมาณ 15-60 เซนติเมตร จะมีการวางไข่ที่ลำธารน้ำจืดที่มีพื้นเป็นทรายและก้อนกรวดเล็ก ๆ

ปลาแลมป์เพรย์ที่เป็นปรสิต จะมีปากคล้ายแว่นดูดและมีอุ้งปาก คล้ายถ้วยลึกลงไปในอุ้งปาก และลิ้นมีฟันที่เจริญดีอยู่ มันจะใช้ปากเกาะเหยื่อและใช้ฟันและลิ้นครูดเอาเนื้อออก และให้เลือดของเหยื่อไหลผ่านได้สะดวก ปลาแลมป์เพรย์จะสร้างสารป้องกันการตกตะกอนของเลือดส่งไปที่ปากแผล เมื่อดูดเลือดของเหยื่อจนตัวเหยื่อแห้งก็จะปล่อยแล้วหาเหยื่อใหม่

พบได้ทั้งลำธารในน้ำจืด และในทะเล พบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วโลก ทั้งยุโรปตอนบน, อเมริกาเหนือ, อเมริกาใต้, แอฟริกาตะวันตก, ญี่ปุ่น, เกาหลี, ชิลี, ออสเตรเลีย และเกาะแทสมาเนีย

ที่มา sciencealert

(1316)