ลอมพอก..เครื่องสวมศีรษะของไทยที่ได้รับอิทธิพลมาจากการโพกผ้าของมุสลิมเปอร์เซีย

ลอมพอก เป็นเครื่องสวมศีรษะรูปยาว บ้างมียอดแหลม บ้างมียอดมนไม่แหลมมากนัก เมื่อสวมแล้วจะแลดูเหมือนการเกล้าผมขึ้นไปข้างบนเป็นทรงกรวยแหลม แล้วปัดไปด้านหลังเล็กน้อย  ใช้เป็นเครื่องทรงของพระเจ้าแผ่นดิน และเป็นเครื่องแบบขุนนางยุคกรุงศรีอยุธยา

ลักษณะของลอมพอกสามารถบ่งถึงตำแหน่งสูงต่ำของขุนนางได้นอกจากนี้เหล่าโขนละครเองก็เคยใช้ลอมพอกในการแสดง ก่อนพัฒนาเป็นชฎาหรือมงกุฎในภายหลัง

ลอมพอกเป็นเครื่องสวมศีรษะของไทยที่ได้รับอิทธิพลมาจากการโพกผ้าของมุสลิมเปอร์เซีย[2][5][6] และมีความเป็นไปได้ว่าน่าจะรับมาตั้งแต่ก่อนเกิดกรุงศรีอยุธยา

มงซีเออร์ เดอ วีเซได้เขียนคำอธิบายเกี่ยวกับการแต่งกายของคณะทูตสยามที่ไปเจริญสัมพันธไมตรีกับฝรั่งเศสในรัชสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 นำโดยออกพระวิสูตรสุนทร (ปาน) เมื่อปี พ.ศ. 2229 ความว่า “….สิ่งที่สำคัญซึ่งทำให้ดูราชทูตไทยผิดกว่าราชทูตเมืองอื่นมากนั้นก็คือหมวก หมวกไทยนั้นเป็นหมวกมียอดแหลมซึ่งเขาเรียกว่า ลอมพอก สูงกว่าหมวกเราเป็นไหน ๆ เรียวขึ้นไปเป็นชั้น ๆ สัณฐานคล้ายกับมงกุฎ แต่ละชั้นล้วนประดับด้วยเครื่องเงินทองเพชรพลอยและนิลจินดาเป็นอย่างหนึ่ง ๆ และชั้นต่อ ๆ ไปก็ประดับด้วยวิธีอื่นอีก ดูแปลกเข้าที…”

  doxzilla  

ส่วนซีมง เดอ ลา ลูแบร์ ราชทูตฝรั่งเศสที่มาเจริญสัมพันธไมตรีกับกรุงศรีอยุธยาเมื่อปี พ.ศ. 2230 ได้กล่าวถึงลอมพอกในจดหมายเหตุ ความว่า “…พระลอมพอกของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้น ประดับขอบหรือเสวียนเกล้าด้วยพระมหามงกุฎเพชรรัตน์…” และกล่าวถึงลอมพอกขุนนางว่า “ของพวกขุนนางนั้นประดับเสวียนทองคำ, เงิน, หรือกาไหล่ทองมากน้อยตามยศ ลางคนก็ไม่มีเสวียนเลย พวกขุนนางจะใช้ลอมพอกนี้ชั่วเวลาเข้าเฝ้าพระมหากษัตริย์ หรือเพลาประชุมคณะขุนศาลตุลาการ หรือในพิธีลางอย่างเท่านั้น เขาใช้แถบผูกโยงยึดไว้ใต้คาง และเมื่อแสดงการเคารพก็มิได้ถอดออก…”

และลอมพอกได้รับการพัฒนาขึ้นเป็นชฎาและมงกุฎสำหรับเจ้านายและนักแสดงโขนในยุคหลัง

ที่มา wikipedia.org

(4140)