ลี่เจียง

ลี่เจียง (Lijiang) เป็นเขตการปกครองที่ประกอบด้วยส่วนที่เป็นเขตเมืองและเขตชนบททางตะวันตกเฉียงเหนือของมณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน มีจำนวนประชากรราว 1,100,000 คน มีย่านเมืองเก่าลี่เจียงที่มีชื่อเสียงมาก ซึ่งมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า เมืองเก่าต้าเหยียน

 

ย่านเมืองเก่าลี่เจียงมีประวัติศาสตร์ย้อนหลังไปได้มากกว่า 800 ปี และเคยเป็นจุดแลกเปลี่ยนค้าขายสินค้าตามเส้นทางสาย Tea Horse สายเก่า ย่านเมืองเก่านี้มีชื่อเสียงจากคูคลองและสะพานที่มีอยู่มากมาย จนได้รับการขนานนามว่า “เวนิสแห่งตะวันออก”

เมืองเก่าลี่เจียงมีสถาปัตยกรรม ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมแตกต่างไปจากเมืองโบราณอื่นๆของจีน เนื่องจากเป็นเมืองที่เป็นที่ตั้งรกรากของชาวหน่าซี หรือนาสี มาตั้งแต่สมัยโบราณ

สถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อได้แก่
1.ภูเขาหิมะมังกรหยก ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองเก่าลี่เจียง เป็นภูเขาที่มีหิมะปกคลุมตลอดทั้งปี มีความสูงเหนือระดับน้ำทะเล โดยเฉลี่ย 4,000 เมตร เนื่องจากมียอดเขา 13 ยอดเรียงต่อกัน และปกคลุมด้วยหิมะ มีลักษณะคล้ายมังกร จึงถูกเรียกว่า ภูเขาหิมะมังกรหยก ด่านเก็บเงินค่าเข้าอุทยานต้องเสียค่าธรรมเนียมรวม 160 หยวน แยกได้ดังนี้ – ค่าบำรุงเมืองเก่าคนละ 80 หยวน (อย่าลืมเก็บบัตรนี้ใช้แทนตั๋วเข้าชมสระมังกรดำ “เฮ้ยหลงทัน” ได้) – ค่าเข้าอุทยานคนละ 80 หยวน

  

2.สระน้ำมังกรดำ (Heillongtan, Black Dragon Pool) หรือที่รู้จักกันว่า สวนยู้วฉวน (Yuquan)ตั้งอยู่ในตัวเมืองลี่เจียง ห่างจากตัวเมืองเก่าลี่เจียงไปทางทิศเหนือประมาณ 1 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 11,390 ตารางเมตร สระน้ำมังกรดำมีจุดเด่นที่ความใสของน้ำที่ใสราวกับมรกต นอกจากนี้ ภายในสวนยังมีการสถาปัตยกรรมต่าง ๆ ที่ผสมผสานวัฒนธรรมของชาวฮั่น ทิเบต และน่าซี ไว้ด้วยกัน

3.โค้งแรกแม่น้ำแยงซี (Changjiangdiyiwan) ห่างจากเมืองเก่าลี่เจียง 53 กิโลเมตร เกิดจากแม่น้ำแยงซี (หรือที่คนจีนเรียกว่า แม่น้ำฉางเจียง) ที่ไหลลงมาจากที่ราบสูงชิงไห่-ทิเบต มากระทบกับภูเขาไห่หลอ ทำให้ทิศทางของแม่น้ำหักโค้งไปทางทิตะวันออกเฉียงเหนือ จนเกิดเป็นโค้งน้ำที่สวยงาม

4.หุบเขาเสือกระโจน (Hutiaoxia) ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างทางแยกของเมืองลี่เจียงและเมืองจงเตี้ยน เป็นหุบเขาในช่วงที่แม่น้ำแยงซีไหลลงมาจากจินซาเจียง (แม่น้ำทรายทอง) น้ำบริเวณนี้ไหลเชี่ยวมาก ช่วงที่แคบที่สุดมีความกว้างเพียง 30 เมตร ตามตำนานเล่าว่า ในอดีตช่องแคบนี้มีเสือกระโดดข้ามไปยังฝั่งตรงข้ามได้ เนื่องจากกลางแม่น้ำบริเวณนี้มีหินที่เรียกว่า “หินเสือกระโดด” ซึ่งก้อนหินมีความสูงกว่า 13 เมตร จึงเป็นที่มาของชื่อ “ช่องแคบเสือกระโดด”

(218)

ใส่ความเห็น