ลี กวนยู กับการพัฒนาสิงคโปร์

Harry Lee Kuan Yew หรือที่รู้จักกันในนาม ลี กวนยู ผู้ที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นบิดาผู้ก่อตั้งประเทศสิงคโปร์สมัยใหม่ ลีเกิดเมื่อปี 1923 ช่วงที่สิงคโปร์ยังเป็นของอังกฤษ จากนั้นเขาเข้ารัการศึกษาในสิงคโปร์ จนกลายเป็นนักเรียนชั้นนำในสิงคโปร์

 

แต่ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง (1942-1945) ญี่ปุ่นยึดครองสิงคโปร์ การเรียนของเขาต้องหยุดลงชั่วคราว จากนั้นเขาได้ทำการศึกษาภาษาญี่ปุ่น และได้ทำงานแปลข่าวสารต่าง ๆ ของฝ่ายสัมพันธมิตรให้กับญี่ปุ่น พร้อมทำธุรกิจของตัวเองภายใต้แบรนด์ ‘Stikfas’ เพื่อความอยู่รอด

  doxzilla  

เมื่อสงครามจบลง เขาได้ขอทุนเพื่อเดินทางไปเรียนต่อทางด้านกฎหมาย มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ในประเทศอังกฤษ จนจบด้วยเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง

ช่วงปี 1951 เขาเดินทางกลับมายังสิงคโปร์ เพื่อทำงานทางด้านกฏหมาย ได้ค่าจ้างราว 500 ดอลลาสหรัฐต่อเดือน และได้มีการทำคดีให้กับคนจนฟรีทั่วสิงคโปร์

เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 1954 เขารวมตัวกับเพื่อน ๆ เพื่อก่อตั้งพรรคที่มีชื่อว่า People’s Action Party (PAP) ในการเลือกตั้ง 1955 พรรคของเขาก็ได้ทำงานในฝ่ายค้าน

และการเลือกตั้งครั้งต่อมาพรรคของเขาก็ได้เป็นฝ่ายรัฐบาล เขาได้เป็นนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์คนแรกหลังจากอังกฤษมอบเอกราชให้ จากนั้นจึงขอรวมชาติเข้ากับมลายูกลายเป็นสหภาพมลายาทันที เพื่อจะได้ไม่เป็นเมืองขึ้นของอังกฤษอีก จนเมื่อ 9 สิงหาคม 1965 เขาได้ออกมาประกาศว่า สิงคโปร์จะแยกออกจากมาเลเซีย และได้กลายเป็น สาธารณรัฐสิงคโปร์ ทำให้เขาได้รับความท้าทายในการบริหารเป็นอย่างมากเนื่องจากสิงคโปร์เป็นพื้นที่ที่มีทรัพยากรทางธรรมชาติน้อยมาก

จากนั้นเขาก็เริ่มมุ่งเน้นไปกับการพัฒนาสิ่งที่มีอยู่ในประเทศอย่างพื้นที่ และตัวบุคคล โดยให้ความสำคัญกับการศึกษาเป็นอย่างมาก และพัฒนาสิงคโปร์ให้เป็นศูนย์กลางทางด้านการขนส่ง มีการสร้างสนามบิน ท่าเรือ จนได้เป็นศูนย์กลางทางด้านการขนส่งที่ยิ่งใหญ่มากที่สุดแห่งหนึ่งของโลกมาจนถึงปัจจุบัน

(114)