วาฬหลังค่อม นักล่าขนาดยักษ์ที่ทำงานเป็นทีม

กว่า 40 ปี มาแล้วที่วาฬหลังค่อมนับพันตัวต้องถูกไล่ล่าสังหาร เพื่อต้องการไข เนื้อ และกระดูกวันนี้พวกมันกลายเป็นสัตว์ใกล้สูญพันธ์ที่เหลืออยู่ไม่ถึงสองหมื่นตัวในโลก นอกจากร่างกายที่มีค่ากับมนุษย์แล้ว วาฬหลังค่อมยังมีพฤติกรรมการล่าที่ซับซ้อนที่สุดในโลกของวาฬอีกด้วยเมื่อผิวน้ำเปลี่ยนเป็นสีเงินด้วยปลาจำนวนมาก วาฬพวกนี้ก็โผล่ขึ้นมา ไม่ใช่แค่หนึ่งหรือสองตัวแต่เป็นฝูงวาฬกว่า 15 ตัวที่ขึ้นมาบนผิวน้ำพร้อมๆกัน

หลายคนอาจคิดว่านี่เป็นแค่การแย่งชิงอาหารอย่างบ้าคลั่ง แต่แท้จริงความน่าทึ่งที่กำลังเกิดขึ้นก็คือพวกมันกำลังร่วมมือกันล่าโดยใช้กลยุทธ์ที่รอบคอบวาฬหลังค่อมแต่ละตัวมีน้ำหนักมากถึง 4 หมื่นกิโล และยาวกว่า 17 เมตรปากของมันกว้างเกือบ 5 เมตร แต่มันทำได้เพียงกลืนเหยื่อขนาดใหญ่ เพราะหลอดลมกว้างเท่ากับมือมนุษย์เท่านั้นอาหารประจำของพวกมันมักจะเป็นกุ้งฝอย เช่น คริล และแพลงค์ต้อนอื่นๆ ที่กรองผ่านแผ่นระโยงรยางค์นับร้อยชิ้นในปากที่เรียกว่า เบลีน หรือ แผ่นกรองน้ำที่ทำให้อาหารยังคงอยู่ในปาก ในขณะที่กล้ามเนื้ออันแข็งแรงดันน้ำหลายพันลิตรออกมา

ในฤดูหนาวพวกมันต้องเพิ่มน้ำหนักตัวให้มากที่สุดเพื่อการเดินทางไกลถึง 4 พันไมล์ไปสู่ฮาวาย ซึ่งนับว่าเป็นการอพยพที่ยาวไกลที่สุดของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เพื่อจุดหมายที่มันจะได้พบคู่ครอง และให้กำเนิดทายาทเพียงหนึ่งตัวในแต่ละครั้ง น่านน้ำอุ่นในฮาวายช่วยให้วาฬแรกเกิดโตเร็วกว่าปรกติ และก็เป็นที่ที่แทบไม่มีวาฬเพชฌฆาตมาคอยล่าลูกของมัน การให้นมที่อุดมไปด้วยไขมันทำให้วาฬน้อยเพิ่มน้ำหนักตัวได้กว่าสองพันกิโลในช่วงสองเดือนแรก แต่วาฬรุ่นใหญ่โดยเฉพาะเพศเมียอาจเสียน้ำหนักตัวไปถึงหนึ่งในสาม เพราะขาดแพลงค์ต้อนและแหล่งอาหารอื่นๆ พวกมันจึงกลับสู่ที่อยู่เดิมด้วยสภาพอันหิวโหยหลังจากเวลาผ่านไป 4-5 เดือน ซึ่งนับเป็นการเริ่มต้นขึ้นอีกครั้งสำหรับฤดูแห่งการล่า ที่ทำให้นิสัยรักสันโดษของพวกมันแปรเปลี่ยนไป

  

แนวชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของอลาสก้า คือจุดพักในฤดูร้อนที่สัตว์หลายร้อยชนิดโปรดปราน เพราะอุดมไปด้วยสารอาหาร แพลงค์ต้อนและปลามากมาย ฝูงปลาแฮริ่งมักจะมาชุมชุมกันที่นี่ในฤดูร้อน และวาฬหลังค่อมก็มาที่นี่เพื่อปลาแฮริ่งนั่นเอง แต่การจะจับปลาที่มีขนาดใหญ่และจับยากอย่างปลาชนิดนี้ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายนัก พวกมันจึงต้องทำงานกันเป็นทีม!

เมื่อทุกอย่างพร้อมวาฬหลังค่อมกลุ่มใหญ่ก็โผล่พ้นผิวน้ำ ประสานจังหวะในการถลาขึ้นมาหากินพร้อมกัน พวกมันจะใช้วาฬตัวเดิมประจำตำแหน่งเดิมทุกครั้ง ทุกตัวรู้ตำแหน่งและทำงานร่วมกัน อย่างเหลือเชื่อ โดยมีหน้าที่หลักๆคือ พ่นฟองอากาศ ส่งเสียงเรียก และไล่ต้อนฝูงปลา

วาฬกลุ่มหนึ่งดำลงไปที่ก้นทะเลเพื่อมุดใต้ฝูงปลาแฮริ่ง และไล่ต้อนปลาให้เข้ามาอยู่ในวงแคบขณะที่วาฬอีกฝูงหนึ่งเปล่งเสียงเรียกหากิน ที่ทำให้ฝูงปลาแฮริ่งที่ตื่นตระหนกว่ายขึ้นสู่ผิวน้ำไปติดกับฟองอากาศที่ถูกพ่นออกมาเร็วๆก่อให้เกิดเป็นแสงประกายแวววับที่เป็นเสมือน “แหฟองอากาศ”ที่ทำให้แฮริ่งข้ามไม่พ้นและถูกฝูงวาฬฮุบไปในที่สุดแต่ดูเหมือนว่าการไล่ล่านี้ก็ขึ้นอยู่กับโชคของวาฬแต่ละตัวด้วยเช่นกัน เพราะในขณะที่บางตัวถลาไปได้ปลาจำนวนมาก บางตัวก็ได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น

สิ่งที่ทำให้นักวิทยาศาสตร์ประหลาดใจมากที่สุดก็คือไม่มีหลักฐานว่าวาฬหลังค่อมกลุ่มนี้เป็นญาติกันเลยแม้แต่น้อยดังนั้นการแบ่งงาน การใช้ฟองอากาศ และสายสัมพันธ์ที่ยั่งยืน ล้วนมิได้เกิดจากการเป็นญาติกัน ถ้าหากไม่เป็นญาติกันแล้วพวกมันลำดับชั้นวิวัฒนาการอย่างไร เกิดอะไรขึ้นเมื่อวาฬใหม่มาร่วมฝูง เพื่อหาคำตอบเราคงจะต้องรอถึงปีหน้าเมื่อฤดูกาลแห่งการล่าเริ่มขึ้นอีกครั้ง

(646)

ใส่ความเห็น