Capybara หนูยักษ์ผู้น่ามอบรางวัลมิตรภาพ

หนูคาปีบารา (Capybara) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบได้ทั่วไปในทวีปอเมริกาใต้ ยกเว้นประเทศชิลี เป็นสัตว์ฟันแทะขนาดใหญ่ที่สุดที่ยังคงมีชีวิตอยู่ มักอยู่เป็นฝูงราว 10-20 ตัว อาจจะรวมฝูงได้ถึง 100 ตัว กินพืชเป็นอาหาร อย่างเช่น หญ้า ผลไม้ อาศัยอยู่รอบ ๆ หนองน้ำ ทะเลสาบและแม่น้ำในทวีปอเมริกาใต้  มีลักษณะเป็นทรงกระบอกหัวสั้นขนสีน้ำตาลแดงหรือสีน้ำตาลอมเหลืองคล้ายหนูตะเภาหูสั้น ไม่มีหาง มีพังผืดที่เท้า ขนสีน้ำตาลอ่อนถึงสีดำ

เมื่อโตเต็มที่อายุ 15–18 เดือน จะมีน้ำหนักมากถึง 35 ถึง 66 กิโลกรัม ลำตัวอาจยาวประมาณ 45-60 เซนติเมตร ตัวเมียจะมีน้ำหนักมากกว่าตัวผู้เล็กน้อย มีพังผืดที่ขาหลังและขาหลังจะยาวกว่าขาหน้าเล็กน้อย เท้าหลังมี 3 นิ้วในขณะที่เท้าหน้ามี 4 นิ้ว เป็นสัตว์ที่ว่ายน้ำและดำน้ำเก่ง นอนแช่น้ำได้ทั้งวันแม้ในเวลาขับถ่ายหรือผสมพันธุ์ เพราะชื่นชอบน้ำเป็นชีวิตจิตใจ จะขึ้นจากน้ำก็ต่อเมื่อออกหาอาหารในช่วงเช้าและเย็น

  

ในประเทศญี่ปุ่นที่ Izu Shaboten Park จังหวัดชิซุโอะกะ เลี้ยงหนูคาปีบาราอยู่จำนวนมาก เมื่อเข้าสู่ฤดูหนาวหนูคาปีบาราจะพร้อมใจกันลงไปนอนแช่น้ำในบ่อน้ำพุร้อนที่ทางสวนสร้างไว้ให้กับพวกมัน คาปีบาราเป็นสัตว์ที่เป็นมิตรมากๆ ไม่ว่ามันไปอยู่ที่ไหนสามารถแทรกซึมเป็นเพื่อนกับสัตว์เจ้าถิ่น แนบเนียนไปกับชาวฟาร์มและสัตว์เลี้ยงประจำบ้านได้ดี พวกมันไม่ได้ถูกล่าเพื่อเอาเนื้อเอาหนังจากมนุษย์เท่าไหร่นัก จึงทำให้ไม่มีความเสี่ยงที่จะสูญพันธุ์ แต่ถึงอย่างนั้นไขมันก็สามารถเอามาทำยาได้

(1553)