เส้นทางสู่หายนะ : chernobyl

ในปี 1986 เตาปฎิกรณ์นิวเคลียส์หมายเลขสี่ของเชอร์โนบิลเกิดระเบิดขึ้นและความหายนะก็ถูกปลดปล่อยออกมาทางการสั่งให้ย้ายคนออกไปภายในสองชั่วโมงครึ่ง พวกเขาอพยพคนไปทั้งหมด 5 หมื่นคนภายในเวลาสั้น ต้องทิ้งทุกอย่าง แค่นำเอกสารสำคัญติดตัวไป เงินหรือของมีค่าบางอย่างเท่านั้น หลังจากอุบัติเหตุในครั้งนี้

 

ไม่มีใครรู้ว่าเกิดอะไนขึ้นคนออกมาจากบ้านเรือนเพื่อมองดูแสงประหลาดบนฟ้า เปลวไฟลุกสูงเหมือนกับพลุไฟ สีฟ้าและแดงพุ่งขึ้นมาแก๊สกัมมันตรังสีในปริมาณที่อันตราย หลั่งไหลออกมาจากเตาปฏิกรณ์หมายเลขสี่ สายลมหอบพัดไปทั่วยุโรป มันเป็นคราวเคราะห์ แก๊สจำนวนมากตกลงมาราวกับห่าฝนห่างออกไปหลายพันกิโลเมตร คาดกันว่าปริมาณรังสีที่ถูกปล่อยจากการระเบิดแรงกว่าครั้งที่ทิ้งระเบิดเมือง ฮิโรชิม่า และนางาซากิ ถึง 200 เท่า

ทีมนักวิทยาศาสตร์ได้เข้ามาสำรวจพื้นที่ แต่สิ่งที่ยากสำหรับพวกเขาคือรังสี มันเป็นภัยคุกคามทีมองไม่เห็นหน้ากากอาจช่วยป้องกันจากการหายใจเอาฝุ่นกัมมันตภาพรังสีเข้าไป แต่ไม่มีอะไรจะปกป้องคุณจากรังสีแกมม่าได้ มันจะทะลวงเข้าไปในร่างกายและโจมตีเซลล์ ซึ่งสถานที่แห่งนี้เต็มไปด้วยรังสีแกมม่า นับจากอุบัติเหตุครั้งนั้นความเครียดคร่าชีวิตผู้คนมากไปกว่ารังสีแกมม่า

 

<------------->

<------------->

 

ป่าแดง (Red Forest) เป็นเขตที่มีการปนเปื้อนสารพิษมากที่สุดภายในเขตต้องห้าม ป่าที่ล้อมรอบสถานีพลังงานเชอร์โนบิล ได้รับผลกระทบจากแรงระเบิดไปเต็ม ๆ แทบทุกอย่างถูกทำลายพื้นที่นี้กลายเป็นบริเวณทีเรียกว่า ป่าแดง เนื่องจากสีของต้นไม้ที่ตายจะเป็นสีแดง ที่นี่คือเขตอนุรักษ์ทางระบบนิเวศวิทยาที่มีกัมมันตภาพรังสี เมื่อมีการจำกัดการเข้าออก ธรรมชาติก็จะกลับมาเหมือนเดิมอีกครั้งเพราะว่าไม่มีคนเป็นเขตอนุรักษ์ที่เหมือนกับอุทยานแห่งชาติเพียงแต่มีกัมตภาพรังสี แต่ก็ไม่มากถึงขั้นคร่าชีวิตเราได้

ซึ่งธรรมชาติที่ช่วยในกระบวนการการฟื้นฟู ทรงพลังยิ่งนักเช่นภายในที่เกิดเหตุระเบิดมีแมลงสาบซึ่งแมลงสาปนั้นจะมีชีวิตนานกว่าเราทุกคน แต่แมลงสาบเป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งเราไม่ควรประเมินความสามารถในการปรับตัวของธรรมชาติต่ำเกินไป แนวคิดของการจัดตั้งเขตการอนุรักษ์ธรรมชาติบนพื้นดินที่ปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสี อาจดูไร้สติในตอนแรก แต่ที่นี่คือเขตต้องห้าม และกฏธรรมดาไม่สามารถใช้ได้ซึ่งใครจะรู้ว่า อีกร้อยปีจากนี้ ป่าที่มีสารพิษอาจจะกลายเป็นป่าแห่งเดียวที่เหลืออยู่

(251)

ใส่ความเห็น