นักวิจัยได้ใช้เวลาหลายปีในการศึกษาเรื่องเลือดสีฟ้าของแมงดาทะเล โดยเลือดของมันสามารถนำมาตรวจสอบหาเชื้ออันตรายต่างๆ ที่อาจจะปนเปื้อนในวัคซีน หรือในอุปกรณ์การแพทย์ต่างๆ โดยในแต่ละปีแมงดาทะเลกว่า 600,000 ตัวถูกจับขึ้นมาเพื่อดูดเลือด และนำกลับไปปล่อยลงสู่ทะเล และมีแมงดาบางส่วนได้เสียชีวิตไป
เซลล์เม็ดเลือดขาวของแมงดามีความไวมากในการตรวจจับเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งถูกนำมาใช้ประโยชน์ในวงการแพทย์ โดยการใช้เลือดแมงดาไปสกัดเป็นสารที่เรียกว่า Limulus amoebocyte lysate (LAL) ในการตรวจหาเชื้อแบคทีเรียที่เป็นอันตรายที่อาจจะปนเปื้อนในวัคซีน, การผลิตยา หรือในอุปกรณ์การแพทย์ต่าง ๆ และในปัจจุบันพบว่ามีการนำไปผสมลงในวัคซีนเพื่อนำไปสู่กระบวนการการให้วัคซีนแก่ผู้ป่วย
สำหรับราคาของเลือดแมงดาทะเลนั้นอยู่ที่แกลลอนละ 60,000 เหรียญสหรัฐ โดยในแต่ละปีเลือดแมงดาทะเลที่ผลิตได้มีมูลค่ากว่า 50 ล้านเหรียญสหรัฐ
ลูกแมงดาที่ฟักตัวออกมามีลักษณะเหมือนพ่อแม่ จากนั้นในช่วงการเจริญเติบโตตัวอ่อนแมงดาจะล่องลอยตามกระแสน้ำ และกว่าจะถึงระยะตัวเต็มวัย ตัวอ่อนแมงดาต้องมีการลอกคราบหลายครั้งด้วยกัน และอัตราการลอกคราบก็จะลดลงเมื่อโตเต็มวัย ซึ่งอาจเป็น 10–20 ครั้งต่อปี โดยในการลอกคราบแต่ละครั้งก็จะเพิ่มส่วนของดวงตาขึ้นมาอีกด้วย ซึ่งไม่มีในสัตว์น้ำชนิดไหนที่มีแบบนี้ แมงดาที่โตเต็มที่จะมีอายุประมาณ 9–12 ปี
ภาพ : commons.wikimedia
(18342)
You must be logged in to post a comment.