กลายเป็นภาพที่ถูกส่งต่อในโลกออนไลน์อย่างแพร่หลายสำหรับภาพของแมวที่พยายามจับปลาทองที่อยู่ในบ่อเลี้ยงปลา ที่ผิวของบ่อกลายเป็นน้ำแข็ง
เจ้าเหมียวพยายามวิ่งไปมา ลื่นไถลบนผิวน้ำแข็ง แต่ก็จับปลาไม่ได้ เนื่องจากมีผิวน้ำแข็ช่วยป้องกันอยู่
ปลาทองอยู่รอดในน้ำแข็งได้อย่างไร ?
ผลวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ Scientific Reports ระบุถึงกระบวนการทางร่างกาย ของปลาทองจะเปลี่ยนกรดแลคติกให้กลายเป็นแอลกอฮอล์ เพื่อช่วยให้อยู่รอด ผลงานวิจัยเพิ่มเติมจากการศึกษาเมื่อปี 1980 ที่ชี้ว่าปลาทองและปลาสายพันธุ์ใกล้เคียง สามารถอยู่รอดได้ในน้ำเย็นจัด โดยนักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่า ปลาทองมีกลไกในระดับโมเลกุลที่แตกต่าง
ปกติแล้ว สัตว์ทั่วไปจะมีโปรตีนกลุ่มเดียว ทำหน้าที่ลำเลียงคาร์โบไฮเดรตไปยังไมโตคอนเดรีย ซึ่งเป็นเซลล์แหล่งสะสมพลังงาน โดยในภาวะที่ขาดออกซิเจน การนำคาร์โบไฮเดรตไปใช้งานจะก่อให้เกิดกรดแลคติกซึ่งร่างกายของปลาทองไม่สามารถกำจัดออกได้ และจะทำให้มันตายภายในไม่กี่นาที
แต่ปลาทองโชคดี ที่วิวัฒนาการโปรตีนอีกชุดหนึ่งขึ้นมาทำงานแทนในภาวะที่ขาดออกซิเจน และจะเปลี่ยนกรดแลคติกเป็นแอลกอฮอล์ ซึ่งสามารถขับออกผ่านทางเหงือกได้
ข้อมูลเพิ่มเติม : BBC
(10017)