โขดหินอุลูรู : Uluru หรือเรียกอีกอย่างได้ว่า”หินแอร์ส”(Ayers Rock) ชื่ออุลูรูเป็นชื่อทางการซึ่งใช้ในปัจจุบันเป็นภาษาอะบอริจินี ส่วนชื่อหินแอร์สนั้นตั้งตามชื่อ เซอร์เฮนรี แอร์ส นายกรัฐมนตรีของเซาธ์ออสเตรเลีย ซึ่งตั้งไว้ในปี ค.ศ. 1873 โขดหินอุลูรู ตั้งอยู่ในตอนกลางของประเทศออสเตรเลีย เป็นโขดหินขนาดใหญ่ที่โผล่จากพื้นดินโดดๆซึ่งสามารถมองเห็นได้ไกลกว่า 100 เมตร มีขนาดความสูง 348 เมตร เส้นรอบวงที่ฐานวัดได้ 9 กิโลเมตร จัดได้ว่าเป็นโขดหินที่ใหญ่ทีสุดในโลก
ลักษณะเป็นหินทรายสีแดงเป็นหินอาร์โคส มีปริมาณแร่ฟันม้าหรือแร่เฟลด์สปาร์อยู่มาก มีสภาพการกัดเซาะของฝนและลมตามธรรมชาติ มีถ้ำและแอ่งน้ำ บริเวณผิวนอกของหินโดนความร้อนจากแสงอาทิตย์ ทำให้เกินผิวนอกแตกหลุดออกเป็นสะเก็ดและร่วมลงมาที่พื้นทับถมกันเป็นกำแพงภูเขาขนาดใหญ่ สีสันของหินเปลี่ยนแปลงตามเวลาซึ่งในแต่ละช่วงมีสีแตกต่างกัน ในตอนกลางวันแสงอาทิตย์เจิดจ้าทำให้มีแดง แต่พอตกเย็นสีสันจะเปลี่ยนเป็นสีม่วง
โขดหินอุลูรูจริงๆแล้วเป็นส่วนหนึ่งของยอดเขา ซึ่งจมอยู่ใต้ดินลึกลงไปถึง 6 กิโลเมตร โดยโขดหินนี้เคยเป็นส่วนหนึ่งของพื้นมหาสมุทรเมื่อประมาณ 550 ล้านปีที่แล้วตรงใจกลางทวีปออสเตรเลีย ต่อมาน้ำในมหาสมุทรลดลง เปลือกโลกก็เคลื่อนตัวดันให้โขดหินโผล่ขึ้นมา
ตำนานของชาวอะบอริจินีกล่าวไว้ว่าโขดหินอุรูลูเป็นภูมิประเทศเส้นทางแห่งความฝัน บรรพบุรุษสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยจูคูร์ปา (ยุคแห่งช่วงฝัน) ซึ่งเป็นพื้นพิภพกำลังก่อตัว ในยุคนั้นบริเวณแถบโขดหินอุลูรูเป็นถิ่นของมนุษย์ครึ่งกระต่ายครึ่งจิงโจ้และมนุษย์งูคาร์เป็ต ครั้งหนึ่งมนุษย์งูคาร์เป็ตถูกมนุษย์งูพิษรุกรานซึ่งพวกมนุษย์งูพิษเป็นศัตรูจากแดนใต้ และพวกมนุษย์ครึ่งกระต่ายครึ่งจิงโจ้ก็ได้เข้ามช่วยเหลือมนุษย์งูคาร์เป็ต
โดยหัวหน้าเผ่ามนุษย์ครึ่งกระต่ายครึ่งจิงโจ้โดยเจ้าแม่บูลาริก็ได้เป่าพิษร้ายแห่งความตายและเชื้อโรคเข้าใส่ศัตรู นอกจากนี้ยังมีตำนานที่เล่ากันอีกว่ามนุษย์ครึ่งกระต่ายครึ่งจิงโจ้นี้ได้ถูกศัตรูรุกรานโดยการปล่อยหมาป่าดิงโก้ ออกมากัด แต่โชคดีที่มนุษย์ครึ่งกระต่ายหลบหนีได้เพราะสามารถกระโดดได้ไกลกว่า
ปัจจุบันนี้ชาวอะบอริจินีเชื่อว่าร่างของมนุษย์ครึ่งงูพิษถูกสาปให้กลายเป็นโขดหินอุลูรู และรอยน้ำไหลที่ด้านหนึ่งของหินเป็นรอยเลือด ส่วนรอยเท้ามนุษย์ครึ่งกระต่ายครึ่งจิงโจ้นั้นที่ทิ้งไว้ขณะวิ่งหนีศัตรูได้กลายเป็นถ้ำทั้งหลายที่ฐานโขดหิน
(287)