หมีกริซลี จัดเป็นหมีที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกที่ยังดำรงเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน เมื่อมีขนาดโตเต็มที่อาจมีน้ำหนักระหว่าง 180-1000 กิโลกรัม และยืนด้วยสองขามีความสูงถึง 2.5-3 เมตร โดยปกติจะเป็นหมีสันโดษ ยกเว้นช่วงฤดูผสมพันธุ์ ช่วงมีลูกอ่อนและช่วงอาหารขาดแคลน จะมีความดุร้ายมาก และสามารถบุกเข้าทำร้ายและฆ่าผู้รุกรานได้
โดยพวกมันมีรูปร่างเหมือนหมีสีน้ำตาลทั่วไป แต่มีขนาดใหญ่กว่า มีส่วนจมูกและปากแหลมยื่นออกมา มีกล้ามเนื้อแข็งแรงบริเวณระหว่างหัวไหล่ของขาหน้าทั้ง 2 ข้าง ซึ่งปูดเป็นหนอกออกมา ทำให้หมีกริซลีมีพละกำลังในการขุด ตะปบ ปีนป่ายและวิ่ง ซึ่งมีความเร็วกว่า 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และมีเล็บแข็งแรงและแหลมคม ยาวพอๆกับนิ้วมือของมนุษย์
หมีกริซลีสามารถกินได้ทั้งเนื้อสัตว์และพืชผักผลไม้เป็นอาหาร เพื่อสะสมไว้ใช้ในยามหน้าหนาวช่วงจำศีล เช่น ผลไม้จำพวกเบอร์รี อาหารหลักเป็นปลา ซึ่งจับในลำธารและน้ำตก อาทิ ปลาแซลมอน, ปลาเทราต์ หรือปลาเบส หรือแม้แต่การฆ่าและล่าสัตว์ขนาดใหญ่เป็นอาหารอย่างพวกกวางมูส หรือมนุษย์ เป็นต้น
มักกระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปในทวีปอเมริกาเหนือและอะแลสกา ความใหญ่โตของรูปร่างจะขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของพื้นที่ เช่น หมีกริซลีที่แคนาดาและอะแลสกาจะตัวใหญ่กว่าอเมริกา เพราะมีพื้นที่อุดมสมบูรณ์มากกว่า เมื่อเข้าฤดูหนาวจะเข้าไปหลบจำศีล โดยตัวเมียจะคลอดลูกในช่วงนั้น ครั้งละไม่เกิน 3 ตัว ลูกหมีเกิดใหม่จะมีขนาดตัวราว 20 เซนติเมตร วันๆไม่ทำอะไรนอกจากนอนดูดนมและซุกตัวเข้าหาแม่ จนผ่านไปราว 1 ปี ลูกหมีจะมีน้ำหนักราว 22.5 กิโลกรัม แม่หมีถึงจะพาพวกมันออกไปจากถ้ำเพื่อหาอาหารและสอนวิธีการล่าให้
โดยที่คักโตวิก รัฐอะแลสกา มีรายงานมาว่ามีลูกผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างหมีขั้วโลกกับหมีกริซลี มันมีรูปร่างบึกบึนใหญ่โตและมีใบหูสามเหลี่ยมตั้งตรงอยู่ส่วนบนของหัวเหมือนหมีกริซลี แต่มีขนขาวเหมือนหมีขั้วโลก ขนาดตัวที่ใหญ่กว่าสายพันธุ์ดั้งเดิมทำให้มันถูกเรียกว่า “ซูเปอร์แบร์” ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อผู้คนในแถบนั้น เนื่องจากหมีได้เข้ามาหาอาหารถึงในตัวเมือง โดยเฉพาะช่วงฤดูหนาวซึ่งขาดแคลนอาหาร
(810)
You must be logged in to post a comment.