Kalij pheasant สีสันในผืนป่า

ไก่ฟ้าหลังเทา คือสิ่งมีชีวิตที่มีการกระจายพันธุ์อยู่ตั้งแต่แม่น้ำสินธุ บริเวณตีนเขาของเทือกเขาหิมาลัยจนถึงประเทศไทย ในบริเวณที่เป็นป่าดงดิบแล้ง และป่าดงดิบที่ระดับความสูง 600-1,200 เมตร มักอยู่เป็นคู่หรือเป็นฝูงเล็กๆตามผืนป่า ซึ่งหากมีอะไรมาทำให้พวกมันตกใจ พวกมันจะบินหนีทันที

เมื่อตัวโตเต็มที่พวกมันมีขนาด 50-74 เซนติเมตร มีลำตัวค่อนข้างกลม ที่โดดเด่นคือใบหน้าของไก่ฟ้านั้นมีสีแดง ขาของพวกมันจะสีเทาและบางชนิดจะมีสีแดง จึงมีการต่อท้ายชื่อว่าแข้งแดง

สีขนของไก่ฟ้าหลังเทาตัวผู้จะแตกต่างกันในสายพันธุ์ย่อย โดยกลุ่ม hamiltoni, leucomelanos, melanota, moffitti และ lathami มีขนสีดำสลับน้ำเงินเคลือบ ขนช่วงสะโพกขาว ในชนิด hamiltoni จะพิเศษที่กะหม่อมมีขนสีขาว แต่ในกลุ่ม williamsi, oatesi, lineata และ crawfurdi กะหม่อมและช่วงล่างจะมีสีดำน้ำเงินเคลือบ แต่หางและช่วงบนจะเป็นสีขาวหรือเทาอ่อน ปนไปกับขนสีดำ ส่วนตัวเมียจะมีสีน้ำตาล ช่วงล่างจะมีสีแต้มขาวสลับดำ

  doxzilla  

พวกมันจะกินสัตว์ขนาดเล็ก แมลง หนอน ไส้เดือน และพืชขนาดเล็กเป็นอาหาร เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์จะทำรังตามแอ่งบนดินใต้กอไม้รก รองด้วยใบหญ้าแห้ง จากนั้นจะวางไข่ครั้งละ 6-9 ฟอง หลังจากฟักเพียง 3-4 ชั่วโมง ลูกนกจะมีขนปุยคลุมทั่วตัว และเมื่อขนแห้งพวกมันก็สามารถเดินตามแม่ไปหาอาหารได้ทันที

(1105)