หุบเขาโมนูเมนต์ : Monument Valley ตั้งอยู่ที่เส้นเขตแดนระหว่างรัฐยูทาห์กับรัฐแอริโซนาทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศสหรัฐอเมริกา ชื่อหุบเขามีที่มาจากแท่งหินค้ำขนาดมหึมา ซึ่งกระจัดกระจายอยู่บนที่ราบไม้พุ่มอันแห้งแล้ง ภูมิภาคแถบนี้เต็มไปด้วยแท่งหินหรือซากหินที่หลงเหลือจากการสึกกร่อน
นักธรณีวิทยาเรียกแท่งหินลักษณะดังกล่าวนี้ว่า”โมนูเมนต์” ซึ่งมีลักษณะคล้ายสิ่งก่อสร้างจากฝีมือมนุยษ์เช่น ตึกสูง หินแท่งรูปร่างแปลกตาจำนวนมากเหล่านี้ถูกเรียกขานว่า”หินรูปประสาท”ซึ่งเป็นแท่งหินที่มีลักษณะยอดราบ หรือเรียกอีกอย่างเนิน “เมซา” สูงกว่า 300 เมตร และด้านบนมีหินคล้ายใบเสมาปรากฏอยู่
นอกจากนี้ยังมี “หินรูปถุงมือ” ซึ่งมีลักษณะเป็นเนินยอดป้านดูคล้ายนิ้วมือทั้งสี่ ไม่ไกลมีแท่งหินรูป”แม่ไก่ในรัง” ถัดมาเป็น”เนินยอดบ้านเมอร์ริค”และ”เนินยอดบ้านมิตเชล” และมี”หินรูปแม่อธิการ”และ”หินแม่ชีทั้งสาม”ซึ่งทั้งสองเนินเป็นหินที่สูงที่สุดในกลุ่มแท่งหิน สูงกว่า 245 เมตร
เมื่อประมาณ 250 ล้านปีที่แล้ว ทรายสีแดงของพื้นที่นี้เคยปกคลุมด้วยทะเลตื้นๆ โคลนซึ่งจมสะสมอยู่บนพื้นท้องทะเลได้กดลงบนทราย ทำให้กลาย ทำให้เกิดหินทรายทีมีรูพรุน ส่วนโคลนค่อยๆกลายสภาพเป็นหินดินดานต่อมาน้ำทะเลค่อยๆตื้นเขินขึ้น และเมื่อ 70 ล้านปีที่แล้วเปลือกโลกเกิดการดันตัวอย่างรุนแรงจนสูงขึ้นมา ทำให้เปลือกโลกส่วนนั้นมีลักษณะเป็นรูปโดม ก่อนเย็นตัวลงและแข็งตัวในที่สุด พื้นที่ซึ่งเคยอยู่ใต้ทะเลจึงกลายเป็นที่ราบสูงหินทรายอันกว้างใหญ่ ปกคลุมด้วยหินดินดานและหินกรวดมน หลายปีต่อมา ชั้นหินนี้ถูกลมและน้ำแปรเปลี่ยนรูป โดยตอนแรกเป็นภูเขายอดราบ มีหุบผาชันและร่องธารพาดผ่านไขว้ไปมา กลายเป็นเนินเมซาทีมีพื้นที่ขนาดเล็กลงและในทีสุดก็เป็นแท่งหินสูงหรือเนินป้าน
พื้นที่ส่วนใหญ่ไม่เหมาะแก่การดำรงชีวิตของมนุษย์และสัตว์ แทบเรียกได้ว่าไร้ร่องรอยของมนุษย์ มีเพียงอินเดียนแดงชนเผ่านาวาโฮอาศัยอยู่ ซึ่งยังเลี้ยงแกะและแพะในถิ่น นอกจากนี้ ยังมีกระต่าย และ พวกสัตว์เลือดเย็นเช่น กิ่งก่าแผงคอ คางคกมีเขา และ งูหางกระดิ่ง ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยเพียง 20 เซนติเมตรต่อปี ไม่พืชทนแล้งขึ้นบ้างเช่น จูนิเพอร์ สนพินยอน และ กระบองเพชร
(635)