โมซาซอร์ คือสิ่งมีชีวิตในกลุ่มกิ้งก่าทะเลที่เคยมีชีวิตอยู่ในปลายยุคครีเทเชียส ชื่อมีความหมายว่า “ราชากิ้งก่าแม่น้ำมิวส์” เชื่อว่ามีวิวัฒนาการมาจากสัตว์กลุ่มกิ้งก่าและงู (Squamata) มีชีวิตอยู่ช่วง 89-65 ล้านปีก่อน เป็นญาติๆห่างจากไลโอพลัวเรอดอนแต่มีความยาวกว่ามาก อาศัยกระจายไปหลายส่วนของโลก เพราะในยุคนั้นระดับน้ำทะเลมีความสูง
จะเห็นได้จากมีการค้นพบฟอสซิลในหลายพื้นที่ในอเมริกาเหนือ ได้แก่ แคนาดาและสหรัฐที่พบในหลายรัฐซึ่งเคยเป็นเส้นทางทะเล นอกจากนี้ยังพบในเนเธอร์แลนด์ สวีเดน แอฟริกา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และเกาะเวกานอกชายฝั่งขั้วโลกใต้ โดยพบฟอสซิลครั้งแรกในเขตเหมืองหินปูน เมืองมาสตริกช์ของเนเธอร์แลนด์ ปี 1764 แบ่งได้ 4 วงศ์ย่อย คือ Halisaurinae, Mosasaurinae, Plioplatecarpinae และTylosaurinae
ตัวเล็กสุดมีขนาดยาวประมาณ 5-9 เมตร ในวงศ์ย่อย ฮาลิซอร์ ส่วนตัวใหญ่สุดยาวระหว่าง 16.8-20 เมตรคือ “ไทโลซอร์รัส” เป็นไปได้ที่อาจยาวถึง 30 เมตรหรือหนักราว 58-74 ตัน ลักษณะโครงสร้างขากรรไกรและกะโหลกศีรษะที่ยืดหยุ่นได้ ทำให้นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่ากิ้งก่ากลุ่มนี้น่าจะเป็นญาติใกล้ชิดกับงู ด้วยกรามที่แข็งแรงมันจึงสามารถกัดเหล็กชั้นหนาจนขาดได้ทำให้กินได้ทุกอย่าง ตั้งแต่ ฉลามขาว หมึกยักษ์ ทากทะเล หอย โมซาซอร์ด้วยกันเองหรืออาจจะเป็นวาฬหัวทุย คาดว่าว่ายน้ำได้ถึง118กิโลเมตรต่อชั่วโมง และะสามารถปรับตัวได้ดีเพื่ออยู่ในเขตทะเลน้ำตื้นและอบอุ่น ออกลูกเป็นตัวในน้ำไม่ต้องวางไข่เหมือนกับพวกเต่าทะเล
(1577)
You must be logged in to post a comment.