ซูเปอร์โนวาเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อดาวฤกษ์ขนาดใหญ่เผาผลาญเชื้อเพลิงปฏิกิริยาฟิวชันจนหมด เมื่อไม่มีพลังงานจากปฏิกิริยาฟิวชันคอยต้านแรงโน้มถ่วงของตัวเอง ดาวฤกษ์จะหดตัวลงอย่างรวดเร็วและทำให้เปลือกชั้นนอกของดาวระเบิดออกอย่างรุนแรง ปลดปล่อยอนุภาคพลังงานสูงพร้อมทั้งรังสีแกมมาและรังสีเอกซ์มหาศาลกระจายออกไปทั่วเอกภพ
(ภาพ** ซูเปอร์โนวาไทโค ห่างจากโลก 7500 ปีแสง)
การคำนวณของนักวิทยาศาสตร์แสดงให้เห็นว่า หากมีซูเปอร์โนวาภายในรัศมี 26 ปีแสงจากโลกรังสีที่ปลดปล่อยออกมาจะทำลายชั้นบรรยากาศของโลกจนชั้นโอโซนหายไปครึ่งหนึ่ง พอชั้นโอโซนถูกทำลาย รังสีอันตราย เช่น รังสีอัลตราไวโอเลต ก็จะส่องมาถึงโลกมากขึ้น แพลงก์ตอนพืชจะได้รับผลกระทบจากรังสีอัลตราไวโอเลตและลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว แพลงก์ตอนพืชเป็นแหล่งผลิตออกซิเจนหลักของโลก (กว่าครึ่งของออกซิเจนในบรรยากาศมาจากแพลงก์ตอนพืช) และยังเป็นฐานล่างสุดของห่วงโซ่อาหารในทะเลอีกด้วย
(ภาพ** ซูเปอร์โนวา แคสสิโอเปีย เอ ห่างจากโลก 10000 ปีแสง)
อย่างไรก็ตามการเกิดซูเปอร์โนวาภายในรัศมี 26 ปีแสงจากโลกของเราเป็นปรากฏการณ์ที่ได้เกิดขึ้นบ่อยนัก โดยเฉลี่ย 1.5 ล้านปีจึงจะเกิดขึ้นซักครั้ง และเท่าที่เราทราบ ก็ยังไม่พบว่ามีดาวฤกษ์ใกล้โลกดวงใดที่กำลังจะกลายเป็นซูเปอร์โนวาเร็วๆนี้
(ภาพ** ซูเปอร์โนวา SN1054 ห่างจากโลก 5000 ปีแสง)
ที่มา. ScienceIllustrate, Wikipedia
(234)