ตาลปัตรฤๅาษี ( Limnocharis flava (L.) Buchenau) หรือผักพาย หรือผักต้นจอง ของอิสาน มีชื่อพื้นเมืองอื่นได้แก่ บอนจีน นางกวัก หรือ ตาลปัตรยายชี เป็นไม้น้ำ เป็นไม้น้ำ พบบริเวณนาข้าว และบริเวณที่มีน้ำขัง ลำต้นเหง้าฝังจมอยู่ในโคลนเจริญเป็นต้น บางครั้งมีไหลสั้น ๆ จำนวนมาก
ใบเป็นใบเดี่ยว รูปร่างกลมรี ยาว 15-18 เซนติเมตร กว้าง 12 เซนติเมตร มีก้านใบงอกยื่นอยู่เหนือผิวน้ำก้านใบยาวประมาณ 30 เซนติเมตร ก้านใบสีเขียวอ่อนเป็นเหลี่ยม แผ่นใบใหญ่และแผ่นคล้ายใบ ตาลปัตรดอกเป็นดอกช่อแบบร่ม มีดอกย่อย 7-10 ดอก กลีบดอกสีเหลืองอ่อนหลุดร่วงง่ายเส้นผ่าศูนย์กลางของดอกย่อย ประมาณ 1.5 เซนติเมตร
คุณค่าทางอาหารผักตาลปัตรฤๅษี 100 กรัม ให้พลังงานต่อร่างกาย 14 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วยเส้นใย 0.8 กรัม แคลเซียม 7 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 2 มิลลิกรัม เหล็ก 0.5 มิลลิกรัม เบต้า-แคโรทีน 501 ไมโครกรัม วิตามินบีหนึ่ง 0.03 มิลลิกรัม วิตามินบีสอง 0.08 มิลลิกรัม ไนอาซีน 1.2 มิลลิกรัม วิตามินซี 13 มิลลิกรัม
สามารถนำมากินได้ ทั้งต้นอ่อน ก้านใบ และดอก นอกจากจะให้รสชาติ หวานมันอร่อยแล้ว กินเป็นผักสดแกล้ม ลาบก้อย น้ำพริก และยังทำเป็น ผักสุกโดยการลวกเป็นผักจิ้มน้ำพริก ชาวอีสานนำผักพายมาปรุงเป็นก้อยผักตาลปัตรฤๅษี ทำให้รสชาติของผักตาลปัตรฤๅษี อร่อยมากขึ้น
(456)