นิโคติน ทั้งอันตรายและมีประโยชน์

นักวิทยาศาสตร์พบว่า นกกระจอกและนกฟินซ์ในหลายที่ทั่วโลกใช้ก้นบุหรี่รองรัง ก้นบุหรี่ใช้เป็นฉนวนกันความเย็นได้ดี แต่เหตุผลสำคัญที่สุดน่าจะเป็นเพราะก้นบุหรี่ช่วยกันไม่ให้ไรมารบกวนมันนั่นเอง เพราะรังที่มีก้นบุหรี่มากที่สุดมักจะมีไรน้อยที่สุด ที่เป็นเช่นนี้เพราะนิโคตินคือสารเคมีที่ต้นยาสูบสร้างขึ้นเพื่อป้องกันตัวเองจากแมลงกินพืช เมื่อสำรวจเพิ่มไปอีกจึงพบว่าถ้าไม่ใช่ก้นบุหรี่ นกก็มักจะนำพืชที่มีสารคล้ายนิโคตินมาใส่ไว้ในรังเพื่อไล่ไรเช่นกัน

 

นิโคตินจัดเป็นสารพวกอัลคาลอยด์ และสามารถสกัดได้จากพืชใน genus nicotiana หลาย species แต่ส่วนมาก species ที่พบนิโคตินมากที่สุดคือ tabacum ต่อมาพบว่ามีการศึกษาทดลองพบว่ามีผลที่คาดไม่ถึงที่เกิดจากนิโคตินที่เกิดที่สมองและร่างกายของผู้เสพ โดยเฉพาะผู้สูบบุหรี่และพบว่าการติดนิโคตินส่วนใหญ่จะเกิดจากการสูบบุหรี่มากที่สุด ส่วนนิโคตินที่ติดน้อยลงมาจะเป็นรูปแบบอื่นๆ เช่น รูปแบบแผ่นแปะผิวหนัง รูปแบบเคี้ยวคล้ายหมากฝรั่ง รูปแบบยาพ่นจมูก (nasal spray) รูปแบบ inhaler (เครื่องใส่ยาดม)

วิธีรับนิโคตินเข้าสู่ร่างกาย
– สูบ (smoking) (เช่น บุหรี่ เป็นซิการ์ (cigar ) หรือ ซิการ์แร็ตส์ (cigarettes)) , ผสมกับสารอื่นเช่น กัญชา เฮโรอีน แล้วมวนเหมือนซิการ์แร็ตส์แล้วสูบ         สูด (snuff) เช่น ยานัตถุ์       – เคี้ยว (chewing) เช่น หมากฝรั่ง, ยาเส้น       – แปะที่ผิวหนัง (transdermal)                ฯลฯ

โคตินจะถูกดูดซึมทางผิวหนังและเยื่อเมือกที่บุผิวเช่นที่ในปากและในจมูก หรือการสูดดมทางปอด ปริมาณของนิโคตินและความรวดเร็วที่ร่างกายได้รับจะขึ้นอยู่กับวิธีการเสพ โดยการสูดควันพบว่าจะได้รับนิโคตินเป็นปริมาณที่มากและเร็วกว่าวิธีอื่นๆเภสัชวิทยาของนิโคติน       นิโคตินออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทเมื่อเสพในขนาดที่ต่ำๆจะกระตุ้นระบบประสาททำให้รู้สึกมีความสุข แต่ถ้าเสพในขนาดสูงนิโคตินจะมีผลต่อระบบประสาทที่ไปควบคุมระบบฮอร์โมนที่เกี่ยวกับการหลั่งสาร โดยเฉพาะนิโคตินจะไปเพิ่มสารโดปามีน (dopamine) ในสมองและสารอื่นๆในร่างกายอีกด้วย เมื่อเสพนิโคตินแล้วผลที่แสดงออกทางร่างกายที่พบก็คือ ทำให้หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง เกิดการทนต่อยาทำให้ต้องการเสพยาในปริมาณที่เพิ่มขึ้น และเมื่อหยุดยาจะทำให้เกิดการถอนยาพิษของนิโคติน

Cr. Sanook, ScienceIllustrate

(4686)