รอบรู้เรื่องโลก 1

โลก มีความหมายโดยปริยายหมายถึงหมู่มนุษย์ รวมทั้งอารยธรรมมนุษย์โดยรวมทั้งหมด โดยเฉพาะในด้านประสบการณ์ ประวัติศาสตร์ หรือสภาพของมนุษย์โดยทั่ว ๆ ไป ทั้งนี้ คำว่า ทั่วโลก หมายถึงที่ใด ๆ บนดาวเคราะห์โลก

 

มีอายุเยอะ 

นักวิทยาศาสตร์ได้พยายามหาอายุที่แท้จริงของโลก โดยการวัดอายุหินและอุกกาบาตที่แก่ที่สุด (ที่เคยมีการพบ) และพบว่าโลกแทบจะเกิดในเวลาเดียวกันกับระบบสุริยะถือกำเนิดขึ้นมาเลย พวกเขาพบว่าโลกน่าจะมีอายุประมาณ 4.54 พันล้านปี

ในภาพคือ หินที่อายุมากที่สุดในโลก ตั้งอยู่บริเวณอ่าวฮัดสัน ทางตอนเหนือของรัฐควิเบก ประเทศแคนาดา บริเวณนี้มีชื่อว่า Nuvvuagittuq Belt มีอายุประมาณ 4.28 พันล้านปี

 

แผ่นดินไหว บนดวงจันทร์

ดวงจันทร์ก็มีแผ่นดินไหว ที่นักวิทยาศาสตร์เรียกกันว่า Moonquake แต่มีจำนวนและความรุนแรงน้อยกว่าบนโลก นักวิทยาศาสตร์ USGS กล่าวว่า แผ่นดินไหวบนดวงจันทร์มีส่วนเกี่ยวข้องกับ tidal stresses (แรงกดไทดัล) ที่มากน้อยขึ้นอยู่กับระยะทางระหว่างโลกกับดวงจันทร์ พวกเขายังพบอีกว่า แผ่นดินไหวบนดวงจันทร์มักจะเกิดลึกลงไปใต้พื้นดิน

 

 แผ่นดินไหว

แผ่นดินไหวที่วัดขนาดได้รุนแรงที่สุดในอเมริกามีขนาด 9.2 ริกเตอร์สเกล ที่ Prince William Sound อลาสกา ในวันที่ 28 มีนาคม 1964 (ในรูปคืออพาร์ทเมนต์โฟซีซัน สูง 6 ชั้น สร้างจากคอนกรีต ที่ถล่มลงมาหลังเกิดแผ่นดินไหว) ส่วนแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่สุดในโลก วัดค่าได้ถึง 9.5 ริกเตอร์สเกล เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 1960 ในประเทศชิลี (ข้อมูลจาก USGS)

 

เทือกเขาที่ยาวที่สุด

หากต้องการจะมองหาเทือกเขาที่ยาวที่สุดในโลกแล้วละก็ ทุกคนคงต้องมาลงไปใต้ทะเลลึก จะพบกับเทือกเขากลางสมุทร (mid-oceanic range) แนวเทือกเขาใต้ทะเลโดยจะมีแนวร่องหุบที่รู้จักกันในนามของร่องแยก (rift) ที่สันของแนวเทือกเขาซึ่งเกิดขึ้นจากกระบวนการธรณีแปรสัณฐาน ซึ่งเป็นการแผ่ขยายออกของแผ่นเปลือกโลกใต้มหาสมุทร การยกตัวของพื้นมหาสมุทรเป็นผลเนื่องมาจากกระแสการพาความร้อน (convection currents) ซึ่งเป็นการดันตัวขึ้นมาของหินหนืดจากชั้นฐานธรณีภาค เทือกเขานี้มีความยาวกว่า 65,000 กิโลเมตร (บางที่บอก 80,000)

 

จุดที่หนาวที่สุดในโลก

เมื่อคิดถึงความหนาวเย็นยะเยือก ทุกคนคงคิดถึงแอนตาร์คติกา ไม่แปลกนักเพราะทุกคนคิดถูก สถานีวอสตอคเป็นสถานีวิจัยในทวีปแอนตาร์กติกาของรัสเซียซึ่งสามารถตรวจวัดอุณหภูมิที่ต่ำที่สุดบนโลกเท่าที่เคยบันทึก โดยวัดได้ -89.2 °ซ (เมื่อ 21 กรกฎาคม ค.ศ. 1983) สถานีดังกล่าวทำการวิจัยเกี่ยวกับการเจาะแกนน้ำแข็งและการวัดความเข้มข้นของสนามแม่เหล็ก

 

มันเดินทางไปรอบดวงอาทิตย์

นอกจากจะหมุนวนรอบตัวเองแล้ว โลกเราก็หมุนรอบดวงอาทิตย์ด้วย (โดยใช้เวลาทั้งสิ้น 365 วันจึงจะครบ 1 รอบ) โดยใช้ความเร็วในการเดินทาง 67,000 ไมล์ต่อชั่วโมง (107,826 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)

 

เธอมีรอบเอว 

โลกของเรา (Mother Earth) มีรอบเอวที่ค่อนข้างกว้าง ด้วยความยาวของเส้นศูนย์สูตรหรือเส้นรอบวงที่ 24,901 ไมล์ หรือ 40,075 กิโลเมตร

 

ดาวเคราะห์ดวงที่ 3 

โลก (บาลี: loka; อังกฤษ: world – wikipedia)  บ้านของเราเป็นดาวเคราะห์ดาวที่ 3 จากดวงอาทิตย์ และเป็นแห่งเดียวที่มีบรรยากาศเหมาะสำหรับสิ่งมีชีวิต เต็มไปด้วยอ็อกซิเจน แหล่งน้ำบนพื้นผิว และสำคัญที่สุด คือ สิ่งมีชีวิต

(1966)