ร่มร่อน (อังกฤษ: Paragliding) เป็นอากาศยานเบาพิเศษประเภทหนึ่ง สามารถเคลื่อนที่ได้โดยพลังงานจลน์ ซึ่งเกิดจากแรงดึงดูดของโลก กระทำต่อปีก (Airfoils) ทำให้ร่มร่อนสามารถเคลื่อนที่ไปข้างหน้าได้ไกล โดยอาศัยแรงยก (aerodynamic force) ที่เกิดขึ้นต่อร่มร่อน เมื่อมีอากาศไหลผ่านปีกร่มร่อนสามารถลอยสูงขึ้นไปได้ด้วยปัจจัยสองประการคือลอยขึ้นไปกับมวลอากาศร้อนซึ่งเคลื่อนที่ขึ้น เช่น ลมร้อน (thermal soaring)ลอยขึ้นไปกับ กระแสอากาศที่พุ่งขึ้นอันเนื่องจากมีมวลอากาศเคลื่อนที่ปะทะสิ่งกีดขวาง เช่น ลมที่พัดมาปะทะแนวสันเขาแล้วพัดขึ้นข้ามเขา ร่มร่อนสามารถอาศัยลมบนแนวสันเขาที่ยกตัวขึ้นนี้ ล่องลอยไปตามแนวสันเขาได้ตามความยาวของแนวสันเขา (ridge soaring)
ในราวกลางปี 1980 ที่ประเทศอังกฤษ นาย John Harbot และนาย Andrew Crowley ได้พบว่าร่มทรงสี่เหลี่ยมสามารถลอยออกไปได้เองหากมีขนาดใหญ่ จากนั้นพวกเขาจึงทำการทดลองบินออกจากที่ลาดบนเขาด้วยตัวเองเป็นผลสำเร็จ และเหตุการณ์ในครั้งนั้นได้ก่อให้เกิดการพัฒนาตามมา จนกลายมาเป็นร่มร่อนรูปร่างหน้าตาอย่างในปัจจุบันที่เห็น และเริ่มแพร่หลายไปในหลายประเทศในยุโรป อเมริกา ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย
ร่มร่อนประกอบด้วย
ปีก (canopy) มีรูปทรงลิ่มอากาศ (airfoils) เพื่อก่อให้เกิดแรงยกเมื่อมีอากาศไหลผ่าน ตัวปีกจะถูกแบ่งเป็นห้องหลายห้องมีรูระบายอากาศทะลุถึงกันทุกห้อง มีคุณสมบัติที่สำคัญคือ ต้องมีรูปทรงที่คงที่ ไม่ต้องการความยืดหยุ่น ผลิตจากไนลอน แดครอน และโพลีเอสเตอร์ ที่ผ่านการเคลือบผิวเพื่อให้ลื่นลม และอากาศไม่สามารถผ่านทะลุเนื้อผ้าได้
สายร่ม แบ่งออกเป็นส่วนคือ สายพยุง (suspension line) และสายเบรก (break line) ภายในจะเป็นเคฟล่า ถูกห่อหุ้มด้วยเส้นใยโพลีเอสเตอร์ มีคุณสมบัติคือ สายพยุงต้องไม่สามารถยืดหยุ่นได้ แต่สายเบรกที่ต่อกับมือจับ (toggle) สามารถยืดหยุ่นได้
ไรเซอร์ (Riser) คือแถบผ้าที่ต่อจากส่วนปลายสุดของสายพยุง แล้วมารวมกันไว้ที่ rapid ring ปลายของไรเซอร์จะต่อเข้ากับ คาราบินเนอร์ (karabiner) ก่อนต่อเข้ากับที่นั่งนักบินที่นั่งนักบิน (harness) จะถูกออกแบบมาให้นั่งได้สบาย มีอุปกรณ์ป้องกันการกระแทกหลัง ก้น และด้านข้าง
ในประเทศไทย ร่มร่อนได้เข้ามาเผยแพร่เป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2537 โดยนายสุวัจน์ หาญณรงค์ นำเข้ามาจากประเทศญี่ปุ่น นำเข้ามาบินเป็นครั้งแรกที่อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง
(240)