หลุมดำและตัวเรา

หลุมดำ เปรียบได้หมอนบ่อของแรงดึงดูดที่แม้แต่แสงก็ไม่สามารถหนีรอดไปได้ และของทุกๆสิ่งสามารถกลายเป็นหลุมดำได้ไม่เว้นแม้แต่ ผู้เขียน ผู้อ่าน พิซซ่าหรือลูกแมว เพราะสิ่งที่เรามีเหมือนกันนั่นคือ อะตอมและโครงสร้างอันน่าทึ่งภายใน ด้านในของอะตอมมีลักษณะเหมือนที่ว่าง มีใจกลางนิวเคลียสที่ประกอบไปด้วยโปรตอนและนิวตรอนจำนวนมาก รอบๆนิวเคลียสมีวงโคจรอิเล็คตรอน และหากทำให้นิวเคลียสนั้นมีขนาดใหญ่ขึ้นจนเท่าลูกเบสบอล 1 ลูก

วงโคจรอิเล็กตรอนจะมีความกว้างประมาณ 3 ตารางกิโลเมตร และระหว่างนิวเคลียสกับวงโคจรอิเล็กตรอนที่กล่าวถึงก็คือพื้นที่ว่างที่กล่าวถึงนั่นเอง และสิ่งนั้นอยู่ภายในตัวเรา ถ้ามนุษย์บนโลกไม่มีพื้นที่ว่างที่กล่าวถึง ประชากรบนโลกทั้งหมดจะมีขนาดเล็กลงจนสามารถบรรจุรวมกันลงก้อนน้ำตาลได้

ลองจินตนาการว่าหากคุณนำของสิ่งหนึ่งมาบีบอัดไม่ให้เหลือที่ว่างในอะตอมจนเกิดวัตถุนั้นเข้าจุดความเร็วหลุดพ้น (escape velocity) หรือเร็วกว่าแสง อะไรจะเกิดขึ้น

ของสิ่งนั้นก็จะกลายเป็น “หลุมดำ” นี่อาจจะดูเหมือนว่าแปลก แต่คนทั่วไปก็เข้าใจว่าหลุมดำคือเครื่องทำความสะอาดระดับสูญญากาศที่ดูดทุกสิ่งอย่างเข้าไปเมื่อปรากฏอยู่แล้ว ทว่าถ้าลองย้อนกลับมาดูทฤษฏีการเกิดดับทางธรรมชาติของสิ่งของแล้ว หลุมดำนั้นเป็นวัตถุที่เล็กมากๆ และความจริงก็คือ พวกเราก็กลายเป็นหลุมดำได้ ถ้าหากเราโดนบีบอัดจนเหลือขนาดเล็กมาก (เล็กกว่าไรฝุ่น) แต่มีมวลเท่าเดิม

ในปี 1915 นักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน Karl Schwarzschild ได้หาคำตอบในขณะที่กำลังศึกษาสูตรความเกี่ยวข้องของไอน์สไต และหาขนาดที่แท้จริงที่เราจะหลายเป็นหลุมดำได้ สูตรนั้นคือ Rs = 2GM / c^2 (Rs = รัศมี Schwarzschild / G คือ แรงโน้มถ่วง / M คือ มวล / c คือ ความเร็วแสง) และถ้าอยากหาค่า Rs ก็นำมวลของเราไปใส่

อย่างไรก็ตามถึงแม้เราจะกลายเป็นหลุมดำ ก็ไม่ได้หมายความว่า เราจะสามารถดูดทุกอย่างเข้าไปในทันที ยกตัวอย่างเช่น ถ้าหากดวงอาทิตย์กลายเป็นหลุมดำ ดาวทุกดวงก็จะยังคงอยู่เพราะขอบฟ้าเหตุการณ์ (Event Horizon) ของดวงอาทิตย์เราไม่กว้างพอนั่นเอง ดังนั้นหากไม่มีอะไรเผลอหลุดเข้าไปในขอบเขตของขอบฟ้าเหตุการณ์ก็จะไม่เป็นอะไร ทว่าหากหลุดเข้าไปแล้วก็จะไม่สามารถออกมาได้เช่นกัน

(6117)