หินแกรนิต : granite เป็นหินอัคนีแทรกซ้อน สีจางพบได้ทั่วไปเป็นปรกติ แกรนิตมีเนื้อขนาดปานกลางถึงเนื้อหยาบ บางครั้งจะพบผลึกเดี่ยวๆบางชนิดที่มีขนาดใหญ่กว่ามวลเนื้อพื้น (groundmass) เกิดเป็นหินที่รู้จักกันในนามของพอร์พายรี (porphyry) แกรนิตมีเนื้อแน่นเสมอ แข็ง แรงทนทาน ดังนั้นจึงถูกนำไปใช้เป็นหินก่อสร้างกันอย่างกว้างขวาง
แกรนิตอาจมีสีชมพูจนถึงสีเทาเข้มหรือแม้แต่สีดำขึ้นอยู่กับองค์ประกอบทางเคมีและองค์ประกอบทางแร่ หินโผล่ของหินแกรนิตมีแนวโน้มจะเกิดเป็นมวลหินโผล่ขึ้นมาเป็นผิวโค้งมน บางทีหินแกรนิตก็เกิดเป็นหลุมยุบรูปวงกลมที่รายล้อมไปด้วยแนวเทือกเขาเกิดเป็นแนวการแปรสภาพแบบสัมผัสหรือฮอร์นเฟลส์
สถานที่พบแกรนิตพบได้เฉพาะบนโลกโดยพบเป็นองค์ประกอบหลักของเปลือกโลกในส่วนของทวีป มักพบแกรนิตเป็นสต็อคขนาดเล็กครอบคุมเนื้อที่น้อยกว่า 100 ตารางกิโลเมตรและอาจพบเป็นแบโทลิตที่มักพบเกิดร่วมกับแนวเทือกเขา หินแกรนิตได้แทรกดันเข้าไปในชั้นเปลือกโลกตลอดช่วงยุคทางธรณีวิทยาและก็พบได้มากในช่วงพรีแคมเบรียนด้วย หินแกรนิตพบกระจัดกระจายไปทั่วแผ่นเปลือกทวีปของโลกและพบมากเป็นหินพื้นฐานใต้ชั้นหินตะกอนที่มีขนาดบางกว่า
วิศวกรได้มีการใช้พื้นผิวหินแกรนิตขัดเพื่อทำเป็นระนาบอ้างอิงเนื่องจากความไม่ยืดหยุ่นและน้ำซึมผ่านไม่ได้ คอนกรีตแซนด์บลาสต์ซึ่งมีองค์ประกอบที่มีส่วนผสมของเม็ดกรวดที่มีน้ำหนักและมีลักษณะปรากฏที่ละม้ายคล้ายกับแกรนิต และมักจะนำไปใช้ทดแทนเมื่อหินแกรนิตจริงๆใช้ไม่ได้ผล การใช้แกรนิตที่ผิดปรกติที่สุดเห็นจะเป็นการสร้างทางรถไฟสำหรับ Haytor Granite Tramway ในดีวอน ประเทศอังกฤษในปี 1820
แกรนิตได้รับการนำไปใช้กันอย่างกว้างขวางเป็นหินประดับและเพื่อการปูพื้นในสถานที่สาธารณะ อาคารพาณิชย์ และอนุสาวรีย์ต่างๆ เพราะการที่มีอยู่โดยทั่วไปปรกติแกรนิตจะถูกนำมาใช้ทำเป็นฐานรากบ้านเรือนในนีวอิงแลนด์ ทางรถไฟหินแกรนิตซึ่งเป็นทางรถไฟสายแรกของอเมริกาถูกสร้างขึ้นเพื่อการขนส่งลำเลียงหินแกรนิตจากเหมืองใน Quincy รัฐแมสซ่าซูเซสไปแม่น้ำ Neponset
(3162)