เพชรสังฆาต

เพชรสังฆาต ชื่อวิทยาศาสตร์: Cissus quadrangularis เป็นไม้เลื้อยในวงศ์องุ่น ชื่ออื่นๆคือ สันชะฆาต ขันข้อ สามร้อยต่อ หรือ สันชะควด เป็นพื้นเมืองของอินเดีย ศรีลังกา แต่ยังสามารถพบใน แอฟริกา ซาอุดิอารเบีย และทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 

เปลือกเถาเรียบ สีเขียว รูปสี่เหลี่ยมเป็นครีบ เห็นข้อปล้องชัดเจน ตรงข้อเล็กรัดตัวลง แต่ละข้อยาวประมาณ 6-10 เซนติเมตร บางข้ออาจมีรากออกมาด้วย มีมือเกาะออกตรงข้อต่อตรงข้ามกับใบ ตามข้อมียางขาวมีผลึกแคลเซียมออกซาเลตมาก

ออกเป็นช่อตามข้อต้นตรงข้ามกับใบ ดอกสีเขียวอ่อน กลีบดอกมี 4 กลีบ โคนด้านด้านนอกมีสีแดง ด้านในสีเขียวอ่อน เมื่อบานเต็มที่ดอกจะงองุ้มไปด้านล่าง เกสรเพศผู้มี 4 อัน ผล รูปทรงกลม ผิวเรียบเป็นมัน ผลอ่อนสีเขียว สุกสีแดงเข้มเกือบดำ เมล็ดกลม สีน้ำตาล มี 1 เมล็ด

ในตำราสมุนไพร ใช้แก้ริดสีดวงทวารหนัก คั้นเอาน้ำดื่ม แก้โรคลักปิดลักเปิด แก้ประจำเดือนไม่ปกติ แก้กระดูกแตกหักซ้น ขับลมในลำไส้ ทางภาคเหนือ ใช้น้ำจากต้น หยอดหู แก้น้ำหนวกไหล หยอดจมูกแก้เลือดเสียในสตรี ประจำเดือนไม่ปกติ เป็นยาธาตุเจริญอาหาร

ในประเทศอินเดีย ใช้ ลำต้น เป็นยาพอกเมื่อกระดูกหัก น้ำคั้นจากต้นกินแก้โรคลักปิดลักเปิด แก้อาการผิดปกติของประจำเดือน มีฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย เชื้อรา และต้านอนุมูลอิสระมีแคโรทีนอยด์และวิตามินซีมา

(107)