แผลร้อนใน

แผลแอ็ฟทัส ( Aphthous) หรือ แอ็ฟทา (อังกฤษ: Aphthae) หรือที่นิยมเรียกว่า แผลร้อนใน คือ แผลเปิดภายในช่องปากเกิดจากการแตกของเยื่อเมือก ร้อนในจะเกิดเป็นจุดแดงหรือตุ่มและต่อมาจะพัฒนาแยกออกมาเป็นแผลเปิด มีลักษณะเป็นสีขาว รูปวงรี โดยมีขอบเป็นสีแดงนูนออกมา มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3 มม. ซึ่งในบางครั้งอาจจะกว้างถึง 1 ซม. จะมีอาการเจ็บปวดบริเวณแผล

ระยะเวลาของอาการอาจเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ 1 ถึง 2 สัปดาห์

สาเหตุของ”ร้อนใน”การแพทย์แผนปัจจุบันไม่ทราบเป็นที่ชัดเจน แต่ปัจจัยที่มักจะก่อให้เกิด ความเครียด เหนื่อยล้า การนอนดึก การกัดโดน การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน การมีประจำเดือน การแพ้อาหาร หรืออาจเกิดจากการขาด วิตามิน B12 ธาตุเหล็ก หรือกรดโฟลิค อาจลด และป้องกัน การเกิดแผลร้อนใน ได้ด้วยการไม่รับประทานน้ำในปริมาณมากๆ หลังหรือพร้อมอาหารในทันที ควร รับประทานน้ำมากๆ ระหว่างมื้อแทน เพราะช่วยให้ กรดในกระเพาะอาหารทำงานได้ดีขึ้น และลดโอกาสที่ กรดจะเอ่อล้นขึ้นมาในท่อหลอดอาหาร ซึ่งจะทำให้ระคายเคืองเยื่อบุหลอดอาหารและช่องปาก จนทำให้เกิดแผลร้อนในได้ง่าย

ส่วนทางด้านการแพทย์แผนจีนจะมองถึง สมดุลของหยินหยาง ซึ่งแต่ละคนจะไม่เหมือนกันโดยผู้ที่หยินพร่อง จะมีอาการร้อนในได้ง่าย เมื่อได้รับปัจจัยที่ก่อให้เกิดความร้อนในร่างกาย ได้แก่ อาหารการกินที่มีคุณสมบัติไปทางร้อน เช่น อาหารทอด อาหารที่หวานจัด หรือสมุนไพรที่มีฤทธิ์บำรุงหยาง อากาศที่ร้อนเกินไป เวลาการพักผ่อนในยามค่ำคืนที่น้อย

(555)