โรควิตกกังวล : Anxiety disorder

โรควิตกกังวล : Anxiety disorder  เป็นคำกว้างๆ ซึ่งครอบคลุมถึงความกลัวหรือความวิตกกังวลซึ่งผิดปกติหรือมีพยาธิสภาพในหลายๆ รูปแบบ เกณฑ์การวินิจฉัยโรคทางจิตเวชในปัจจุบันครอบคลุมโรควิตกกังวลหลายชนิด การสำรวจล่าสุดพบว่าชาวอเมริกันถึงร้อยละ 18 มีอาการของโรควิตกกังวลอย่างน้อยหนึ่งชนิด

 

โรควิตกกังวลมักพบว่าเป็นภาวะเรื้อรังซึ่งปรากฏรูปแบบตั้งแต่ในระยะเริ่มต้นจนถึงเกิดขึ้นทันทีหลังมีเหตุการณ์กระตุ้น โดยมีแนวโน้มจะกำเริบขึ้นเมื่อมีความเครียดสูง และมักมีอาการร่วมด้วยเช่นปวดศีรษะ เหงื่อออก กล้ามเนื้อหดเกร็ง ใจสั่น และความดันโลหิตสูง ซึ่งในบางครั้งอาจทำให้ล้าหรือหมดแรง

 

ในสถานการณ์ทั่วไปคำว่า ความวิตกกังวล และ ความกลัว มีความหมายใกล้เคียงกันและมักใช้แทนกันได้ แต่ในทางคลินิกแล้วทั้งสองคำมีความหมายแตกต่างกัน ความวิตกกังวลหมายถึงสภาวะทางอารมณ์ที่ไม่พึงพอใจ โดยไม่สามารถระบุสาเหตุได้หรือรู้สึกว่าควบคุมและหลีกเลี่ยงไม่ได้

ในขณะที่ความกลัวเป็นการตอบสนองทางอารมณ์และสรีรวิทยาต่อสิ่งคุกคามภายนอกที่สามารถระบุได้ ส่วนคำว่า โรควิตกกังวล นั้นรวมทั้งความกลัวและความวิตกกังวลเข้าด้วย ในขณะที่ โรคกลัว (phobias) ซึ่งเป็นความกลัวที่คงอยู่นานและไม่สมเหตุผลนั้นเป็นโรควิตกกังวลอย่างหนึ่งที่พบเป็นส่วนใหญ่

 

โรควิตกกังวลมักมีอาการเจ็บป่วยร่วมกับความผิดปกติทางจิตอย่างอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือโรคซึมเศร้า การศึกษาพบว่าโรควิตกกังวลนั้นมักปรากฏในครอบครัวที่มีประวัติเป็นโรคซึมเศร้าบางชนิด

(156)