มาลาเรีย หรือไข้จับสั่น ไข้ป่า เป็นโรคติดเชื้อของมนุษย์และสัตว์อื่นที่มียุงเป็นพาหะ ส่งผ่านโดยการกัดของยุงเพศเมียในสกุล Anopheles (ยุงก้นปล่อง) และปกติอาการเริ่ม 10 ถึง 15 วันหลังถูกกัด อาการทั่วไปคือ มีไข้ อ่อนเพลีย อาเจียนและปวดศีรษะ ในรายที่รุนแรงอาจทำให้ตัวเหลือง ชัก โคม่าหรือเสียชีวิตได้
การติดเชื้อมาลาเรียเริ่มต้นจากยุงที่เป็นพาหะดูดเลือดและปล่อยเชื้อที่อยู่ในน้ำลายเข้าสู่กระแสเลือดคน โดยประมาณ 30 นาที เชื้อจะเข้าสู่ตับและแบ่งตัวเพิ่มจำนวน หลังจากนั้น เชื้อจะกลับเข้าสู่กระแสเลือดและเข้าสู่เซลล์เม็ดเลือดแดงเพื่อแบ่งตัวเพิ่มจำนวน จนกระทั่งเซลล์เม็ดเลือดแดงแตก เชื้อจะเข้าไปอาศัยและแบ่งตัวเพิ่มจำนวนในเซลล์เม็ดเลือดแดงใหม่ต่อไป โดยเชื้อแต่ละชนิดจะใช้เวลาในการแบ่งตัวและทำให้เซลล์เม็ดเลือดแดงแตกแตกต่างกันไป
เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มีมีวัคซีนป้องกันมาลาเรีย การป้องกันเบื้องต้นนั้นควรนอนในมุ้งหรือบริเวณที่ปลอดจากยุง อาจใช้มุ้งชุบยาไล่ยุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันยุง โดยมุ้งชุบยาฆ่าแมลงช่วยชีวิตทารก 250,000 คนโดยประมาณในแอฟริกาใต้ รวมไปถึง การลดยุงกัดและชะลอการระบาดของมาลาเรีย ความพยายามลดลูกน้ำโดยลดการเข้าถึงแหล่งน้ำเปิดซึ่งเป็นที่เจริญของยุง
ลักษณะของยุงก้นปล่อง
ไข้เลือดออก เกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี่ที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค ยุงลายจะดูดเลือดของผู้ป่วยที่มีไวรัสเดงกี่ แล้วแพร่เชื้อเข้าสู่ร่างกายผู้ที่ถูกกัดคนต่อไป ยุงที่เป็นพาหะของโรคไข้เลือดออก คือ ยุงลายบ้านและยุงลายสวน เป็นยุงขนาดกลาง โดยเป็นยุงลายเพศเมียเท่านั้น
ผู้ติดเชื้อไวรัสเด็งกีส่วนใหญ่ไม่มีอาการ (80%) หรือมีอาการเพียงเล็กน้อย เช่น เป็นไข้ และไม่มีภาวะแทรกซ้อนใด ๆ เพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่อาการรุนแรงมากจนเสี่ยงต่อการเสียชีวิต ระยะฟักตัวของโรคอยู่ที่ 3-14 วัน ผู้ป่วยเด็กส่วนใหญ่มีอาการไม่ต่างจากหวัดหรือกระเพาะอาหารกับลำไส้อักเสบ ในระยะไข้ ผู้ป่วยจะมีไข้สูง มักสูงเกิน 40 องศาเซลเซียส มีอาการปวดตามตัวและปวดศีรษะ ผู้ป่วยระยะไข้ที่มีอาการ 50-80% จะมีผื่นขึ้น
การป้องกันโรคไข้เลือดออกต้องอาศัยการควบคุมการแพร่พันธุ์ยุงลายและป้องกันไม่ให้ยุงลายกัด วิธีการในการควบคุมการแพร่ระบาดของยุงลายคือการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ทำโดยป้องกันไม่ให้มีน้ำขังในภาชนะ เช่น คว่ำขัน กะละมัง ที่อยู่นอกบ้าน ไม่ให้มีน้ำขัง ใส่สารฆ่าแมลงหรือสารควบคุมการเจริญเติบโตของยุงลาย เช่น ทรายอะเบต ในพื้นที่
ลักษณะของยุงลาย
ข้อมูลเพิ่มเติมจาก :pobpad.com
(6433)