NASA’s voyager 1 อนุภาคมูลฐานจากต่างดาว เบาะแสสิ่งมีชีวิตบนดาวอังคาร และอื่นๆ
1. NASA’s voyager 1 เดินทางออกจากขอบเขตสนามแม่เหล็กของดวงอาทิตย์
หลังจากการเดินทางกว่า 35 ปี นักวิทยาศาสตร์ได้รายงานเมื่อปีล่าสุดว่า NASA’s Voyager 1 ได้เดินทางออกจากขอบเขตสนามแม่เหล็กดวงอาทิตย์ (Interstellar Space) แล้วในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา โดยใช้การระเบิดของแสงอาทิตย์เป็นเครื่องมือวัดความหนาแน่นของโมเลกุลในบรรยากาศรอบๆยานอวกาศ
Voyager 1 ถือว่าเป็นยานอวกาศลำแรกของโลกที่เดินทางออกนอกขอบเขตสนามแม่เหล็กโลก นับเป็นก้าวสำคัญของการสำรวจอวกาศประจำปี โดยล่าสุด Voyager 1 อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 18,760 ล้านกิโลเมตร
2. การพบเจออนุภาคมูลฐานจากต่างดาว (Extraterrestrial Neutrinos)
นักฟิสิกส์ในทวีปแอนตาร์คติกาพบหลักฐานชิ้นแรกของรังสีคอสมิกที่มาจากนอกระบบสุริยะ โดยปกติแล้วรังสีพลังงานสูงพวกนี้ตรวจพบได้ยาก ดังนั้นนักวิทยาศาสตร์จึงใช้การตรวจพบอนุภาคมูลฐานนิวตริโนในรังสีคอสมิกเป็นตัวอย่าง ซึ่งในจำนวนหลายพันล้านอนุภาคที่พุ่งผ่านพื้นที่โลกในหนึ่งตารางเซ็นติเมตร มีเพียงนิดเดียวเท่านั้นที่ทำปฏิกิริยากับวัตถุในพื้นโลก
นักฟิสิกส์ได้คิดค้นอุปกรณ์ที่มีชื่อว่า IceCube Neutrino Observatory เครื่องมือตรวจจับอนุภาคนิวตริโนที่อยู่ใต้ผืนน้ำแข็งใน South Pole ลึกลงไปกว่าหนึ่งลูกบาศก์กิโลเมตร ด้วยเครื่องมือนี้นักฟิสิกส์จึงสามารถตรวจจับนิวตริโนที่มีต้นกำเนิดจากนอกระบบสุริยะได้นอกเหนือจากที่พบในปี 1987 ถึงแม้ว่ารังสีที่พบจะค่อนข้างเล็กมากจนหาที่มาไม่ได้ก็ตาม คาดการณ์กันว่าน่าจะส่งมาจากซูเปอร์โนวา การระเบิดรังสีแกมมาและหลุมดำนอกระบบสุริยะ
3. เบาะแสสิ่งมีชีวิตบนดาวอังคาร
เพียง 7 เดือนหลังจากที่ถึงดาวอังคาร NASA’s Curiosity ก็พบเบาะแสว่าดาวอังคารอาจจะเหมาะสำหรับสิ่งมีชีวิตในรูปแบบของจุลินทรีย์ การวิเคราะห์ครั้งนี้เป็นผลจากการค้นพบส่วนประกอบสำคัญของการดำรงค์ชีวิตในก้อนหินบนดาวอังคาร
ในเดือนธันวาคม ทีมจาก Curiosity ได้ประกาศว่าค้นพบหลักฐานของน้ำสะอาดในทะเลสาบใกล้แถบเส้นศูนย์สูตรบนดาวอังคารที่สามารถใช้ในการดำรงค์ชีวิตได้ และคาดว่าทะเลสาบน้ำมีอายุกว่า 3,700 ล้านปีแล้ว
และล่าสุด นักวิทยาศาสตร์ได้ใช้ NASA’s Mars Reconnaissance Orbiter ว่าริ้วทางสีดำตามฤดูกาล (Dark Seasonal Streak) ใกล้แถบศูนย์สูตรอาจเป็นทางผ่านของน้ำเค็มที่ไหลผ่านในช่วงบรรยากาศร้อนก็เป็นได้แม้ว่าตอนนี้จะเป็นพื้นที่แห้งแล้งก็ตาม
4. Kepler-78b (ฝาแฝดโลก)
เมื่อปลายเดือนตุลาคมทีผ่านมา นักวิทยาศาสตร์ได้ประกาศถึงการค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะที่เหมือนกับโลกมากที่สุดในด้านขนาดและองค์ประกอบต่างๆ Kepler-28b กว้างกว่าโลกเพียง 20 เปอร์เซ็นต์ มีมวลมากกว่าโลก 80 เปอร์เซ็นต์และมีความหนาแน่นเท่าๆกับโลก แต่บรรยากาศต่างกับโลกลิบลับด้วยอุณภุมิที่พื้นผิวถึง 2,000 องศาเซลเซียส เคปเลอร์โคจรรอบดวงอาทิตย์ของตัวเองในเวลา 8.5 ชั่วโมงในระยะห่าง 1.5 ล้านกิโลเมตร
5. การจากไปของดาวหางแห่งศตวรรษ ไอซอน
ดาวหางไอซอนวิ่งผ่านดวงอาทิตย์เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายนที่ผ่านมาก่อนที่จะแตกออก ตัวของไอซอนมีนิวเคลียสขนาดใหญ่และมองเห็นได้แม้ในตอนกลางวัน (คล้ายกับสุดยอดดาวหางในปี 1680)
ในวันขอบคุณพระเจ้าที่ผ่านมา ดาวหางไอซอนโคจรเข้าใกล้ดางอาทิตย์ที่ระยะทาง 1.1 ล้านกิโลเมตร ด้วยแรงดึงดูดและความร้อนจัดทำให้ฝุ่นและแก๊ซต่างๆของดาวหางถูกดึงออกไปจนเหลือขนาดเล็ก มีเพียงกล้อง Hubble เท่านั้นที่สามารถเห็นได้ และหายไปในที่สุด
6. อุกกาบาตตกในรัสเซีย (The Chelyabinsk Meteor Explosion)
เกิดขึ้นเมื่อเวลาประมาณ 9.20 น. ตามเวลาท้องถิ่น ของวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2556 สะเก็ดดาวเข้าสู่ชั้นบรรยากาศของโลกเหนือประเทศรัสเซียและบางส่วนของประเทศคาซัคสถาน เกิดเป็นลูกไฟพุ่งผ่านท้องฟ้าด้วยความเร็วอย่างน้อย 54,000 กม./ชั่วโมง และแตกเป็นเสี่ยง ๆ เหนือนครเชเลียบินสค์ สถาบันวิทยาศาสตร์รัสเซียประมาณว่า อุกกาบาตก้อนนี้หนักราว 10,000 ตันก่อนเข้าสู่ชั้นบรรยากาศโลก และเกิดระเบิดกลางอากาศที่ความสูงระหว่าง 30-50 กิโลเมตรเหนือพื้นดินองค์การอวกาศนาซาของสหรัฐอเมริกา ประมาณว่าอุกกาบาตลูกนี้มีเส้นผ่านศูนย์กลางราว 17 เมตร และหนัก 9,000 ตัน โดยมีพลังงานที่ปลดปล่อยออกมาเทียบเท่ากับทีเอ็นที 500 กิโลตัน สะเก็ดดาวนี้ไม่ถูกตรวจพบก่อนเข้าสู่ชั้นบรรยากาศ
มีรายงานผู้ได้รับบาดเจ็บ 1,200 คน ส่วนใหญ่เป็นเพราะถูกเศษกระจกที่เกิดจากคลื่นกระแทกบาด มีรายงานผู้บาดเจ็บสาหัส 2 คนมีรายงานว่าอาคารจำนวนถึง 3,000 แห่งใน 6 เมืองใหญ่ในพื้นที่ได้รับความเสียหายเนื่องจากการระเบิดและแรงกระแทก
ที่มา: http://goo.gl/9tdjDz
(5530)