7 ความจริงที่คุณควรรู้เกี่ยวกับ ‘หัวใจ’

หัวใจวางตัวอยู่ในบรินกลางของช่องอก ในบริเวณที่เรียกว่า เมดิแอสไตนัมส่วนกลาง (middle mediastinum) ซึ่งเป็นบริเวณที่ถูกขนาบข้างด้วยปอด และมีหลอดเลือดแดงใหญ่และหลอดอาหารวางอยู่ใต้หัวใจ นอกจากนี้หัวใจยังถูกห่อหุ้มโดยเยื่อบางๆ เรียกว่า เยื่อหุ้มหัวใจ(pericardium) ซึ่งช่วยลดแรงเสียดทานระหว่างการเต้นของหัวใจ นอกจากนี้หัวใจยังมีระบบหลอดเลือดเฉพาะ ซึ่งเรียกว่า ระบบหลอดเลือดหัวใจ (coronary system) ซึ่งไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจโดยตรง

7 ความจริงที่คุณต้องรู้เกี่ยวกับหัวใจ

–          1. หัวใจเต้นของอัตโนมัติ สมองไม่จำเป็นต้องสั่งการ คุณสมบัติประการหนึ่งที่น่าสนใจของหัวใจ คือการที่กล้ามเนื้อหัวใจสามารถกระตุ้นการทำงานได้ด้วยตัวเอง โดยอาศัยระบบนำไฟฟ้า (conduction system) ภายในผนังของหัวใจ

 

–          2. หัวใจเต้นประมาณ 100,000 ครั้งต่อวัน หรือประมาณ 3 พันล้านครั้งตลอดชีวิต(โดยเฉลี่ย) ถือเป็นอวัยวะที่วุ่นวายมากที่สุดอย่างหนึ่ง เลือดที่ปั้มออกมาจากหัวใจจะวิ่งไปตามเส้นเลือดในร่างกายเราถึง 60,000 ไมล์

–          3. มีจำนวนผู้หญิงเสียชีวิตจากโรคหัวใจมากกว่าผู้ชาย แม้คนทั่วไปจะเข้าใจกันว่าผู้ชายเป็นโรคหัวใจมากกว่าผู้หญิง แต่ตัวเลขแสดงค่าในสหรัฐอเมริกายืนยันได้ดีว่ามีผู้หญิงเสียชีวิตจากโรคหัวใจมากกว่าผู้ชายเล็กน้อยตลอดหลาย 10 ปีที่ผ่านมา ในปี 2009 ผู้เสียชีวิตจากโรหัวใจเป็นหญิง 401,495 คน และชาย 386,436 คน

 

–          4. การเต้นของหัวใจของแต่ละคนต่างกัน จำนวนครั้งของหัวใจที่เต้นในแต่ละนาที ขึ้นอยู่กับอายุ ความแข็งแรง ขนาดร่างกายและการรักษาสภาพ หัวใจในระดับปกติของผู้ใหญ่เต้น 60 ถึง 100 ครั้งต่อนาที

 

–          5. ความดันเลือดมี 2 ค่า ความดันซิสโทลิก  (ความดันซิสโตลิก:systolic) หมายถึงความดันเมื่อหัวใจห้องล่างซ้ายบีบตัว จากตัวอย่างวัดได้ค่าเท่ากับ 25 มม.ปรอท ส่วนค่าตัวล่างเรียกว่า ความดันช่วงหัวใจคลาย (ความดันไดแอสโตลิก:diastolic) หมายถึง ความดันเมื่อหัวใจคลายตัว ซึ่งจากตัวอย่างจะมีค่าเท่ากับ 10 มม.ปรอท

 

–          6. การวัดความดันเลือดควรวัดจากแขนทั้ง 2 ข้าง จากการศึกษาพบว่าหากวัดทั้ง 2 ข้างแล้วความดันต่างกันมาก อาจมีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจภายใน 13 ปี

–          7. ความตายของคู่ชีวิตเพิ่มความเสี่ยงการเป็นโรคหัวใจ ผลการศึกษาล่าสุดพบว่าผู้สูงอายุที่คู่ชีวิตเสียไปก่อนมีโอกาสเป็นโรคหัวใจมากขึ้นกว่าเดิมถึง 2 เท่า เพราะความเศร้าที่ทำให้ความดันเลือด และระดับฮอร์โมนความเครียดมากขึ้น

 

 

ที่มา Wiki, Livescience

(4224)