เพชรโฮป (อังกฤษ: Hope Diamond) เป็นเพชรขนาดใหญ่ หนัก 45.52 กะรัต (9.10 กรัม)สีน้ำเงินเข้ม ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติสมิธโซเนียนในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เพชรโฮปมองด้วยตาเปล่าเห็นเป็นสีน้ำเงินเพราะมีธาตุโบรอนปริมาณเล็กน้อยอยู่ในโครงสร้างผลึก แต่จะเรืองแสงสีแดงเมื่ออาบแสงอัลตราไวโอเล็ต
เพชรดังกล่าวจัดเป็นเพชรประเภท 2 บี และดังกระฉ่อนเพราะเล่าว่าเป็นเพชรต้องคำสาป มันมีประวัติศาสตร์บันทึกยาวนานโดยมีช่องว่างอยู่บ้างเมื่อมันได้เปลี่ยนมือหลายครั้งระหว่างทางจากอินเดียไปฝรั่งเศส ไปอังกฤษและสหรัฐอเมริกา เพชรโฮปได้รับการอธิบายว่าเป็น “เพชรที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลก”และเป็นงานศิลปะที่มีผู้เข้าชมมากที่สุดเป็นอันดับสองของโลก รองจากภาพโมนาลิซา
น้ำหนัก เดือนธันวาคม ค.ศ. 1988 ห้องทดสอบพลอยของสถาบันอัญมณีวิทยาแห่งอเมริกาพิจารณาว่า เพชรนี้หนัก 45.52 กะรัต (9.10 กรัม)
ขนาดและรูปทรง เพชรนี้ได้รับการเปรียบเทียบขนาดและรูปทรงกับไข่นกพิราบ, ลูกวอลนัต, “ฮอสเชสนัต (horse chestnut) ขนาดดี”ที่มี “ทรงลูกแพร์” มิติในแง่ความยาว ความกว้างและความลึกเป็น 25.60 มม. × 21.78 มม. × 12.00 มม. (1 นิ้ว × 7/8 นิ้ว × 15/32 นิ้ว)
สี ถูกอธิบายว่ามี “สีน้ำเงินออกเทาเข้มสวยงาม” (fancy dark greyish-blue)เช่นเดียวกับมี “สีน้ำเงินเข้ม”หรือสี “น้ำเงินเหล็กกล้า” (steely-blue) ตามที่ผู้เชี่ยวชาญเพชรสี สตีเฟน โฮเฟอร์ ชี้ เพชรสีน้ำเงินคล้ายกับโฮปสามารถแสดงโดยการวัดปริมาณสีให้ผลว่าสีเทากว่าไพลินสีน้ำเงิน (คือ มีความอิ่มตัวสีน้อยกว่า) ใน ค.ศ. 1996 ห้องทดสอบพลอยของสถาบันอัญมณีวิทยาแห่งอเมริกาตรวจสอบเพชร และ โดยใช้ระบบการวัดของตน จัดว่ามันเป็น สีน้ำเงินออกเทาเข้มสวยงาม โดยการมองเห็น ตัวดัดแปรสีเทา (มาสก์) นั้นเข้มมาก (สีคราม) เสียจนมันเกิดปรากฏการณ์ “เปื้อนหมึก” (inky) ปรากฏเป็นสีน้ำเงินออกดำในหลอดความร้อนภาพถ่ายปัจจุบันของเพชรโฮปซึ่งอาศัยแหล่งแสงความเข้มสูงนั้นมีแนวโน้มจะทำให้ความสุกใสของอัญมณีมีมากที่สุด
ปลดปล่อยแสงเปล่งสีแดง เพชรนี้แสดงประเภทการเปล่งแสงแรงและสีเข้มผิดปกติ หลังอาบแสงอัลตราไวโอเล็ตคลื่นสั้น เพชรจะเรืองแสงสีแดงโชติช่วง (ปรากฏการณ์เปล่งแสงในความมืด) ซึ่งยังคงอยู่ขณะหนึ่งหลังปิดแหล่งแสง และคุณภาพแปลกอันนี้อาจช่วยโหมกระพือ “ชื่อเสียงการต้องสาปของมัน” แสงเปล่งสีแดงนั้นช่วยให้นักวิทยาศาสตร์ “พิมพ์ลายนิ้วมือ” เพชรสีน้ำเงิน ทำให้พวกเขา “แยกแยะของจริงออกจากของทำเลียนแบบ” แสงเปล่งสีแดงนั้นชี้ว่า มีของผสมโบรอนและไนโตรเจนแตกต่างกันอยู่ภายใต้เพชร
องค์ประกอบทางเคมี ใน ค.ศ. 2010 เพชรถูกนำออกจากชั้นแสดงเพื่อวัดองค์ประกอบทางเคมีอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ หลังจากเจาะรูลึกหนึ่งนาโนเมตรแล้ว ผลขั้นต้นพบโบรอน ไฮโดรเจนและอาจมีไนโตรเจน ความเข้มข้นของโบรอนนั้นอยู่ในช่วงตั้งแต่ศูนย์ถึงแปดส่วนในล้านส่วน ตามข้อมูลของภัณฑารักษ์สมิธโซเนียน ดร. เจ็ฟฟรี โพสต์ ธาตุโบรอนอาจเป็นเหตุให้เพชรมีสีน้ำเงินหลังการทดสอบโดยใช้แสดงอินฟราเรดตรวจพบสเปกตรัมเคมีของเพชร
(75)