ผิวหนังมีอะไรสำคัญ? เรารู้อะไรบ้างเกี่ยวกับอวัยวะชิ้นใหญ่ที่สุดในร่างกายชิ้นนี้
นับตั้งแต่มหาสมุทรยุคดึกดำบรรพ์ ผิวหนังกลายเป็นพื้นฐานแห่งความอยู่รอด มนุษย์ยุคแรกได้ใช้ชีวิตแบบพเนจร ทำให้พวกเขาต้องการผิวหนังที่ต่างไปจากเดิม การมีขนรุงรังจึงไม่สะดวกในการเดินทางตอนกลางวันนัก บรรพบุรุษของเราได้สลัดขนดกหนา และพัฒนาอย่างชาญฉลาดในการหลีกเลี่ยงความร้อนสูง ซึ่งจะเห็นได้จากผิวหนังของเราทุกวันนี้ ที่มีเส้นขนปกคลุมราว 5 ล้านเส้นโดยเฉลี่ย เมื่อเส้นขนย่อส่วนเล็กลง ต่อมเหงื่อจึงเพิ่มมากขึ้น และผิวหนังของเราสามารถกระจายความร้อนได้เร็วกว่าสัตว์ชนิดอื่น
เวลาผ่านไป เนื้อเยื่อที่เปราะบาง ได้วิวัฒนาการจนกลายเป็นรูปแบบผิวหนังที่ชาญฉลาด รอยก้นหอยบนนิ้วมือและนิ้วเท้าของเราแสดงให้รู้ว่า “ผิวหนังเป็นของฉันและมันมีอยู่เพียงหนึ่งเดียว”
สมองและผิวหนังเชื่อมโยงกันอย่างลึกซึ้งตั้งแต่นาทีแรกของชีวิต สัมผัสเป็นหนึ่งในประสาทที่พัฒนาขึ้นมาก่อนแม้แต่ในครรภ์ ทารกก็ยังเอามือมาอมในปากได้ ความรู้สึกเกิดขึ้นใต้ผิวหนังในส่วนของเส้นประสาท บ่อยครั้งที่ประสาทต้องทำงานร่วมกัน โลกรอบตัวเราหากปราศจากการสัมผัสเราคงเคลื่อนไหว มีปฏิกิริยา หรือรู้สึกถึงการลูบไล้ไม่ได้
ผิวหนังเป็นสิ่งมหัศจรรย์แห่งสรีระ ชั้นนอกที่ห่อหุ้มช่วยกันน้ำให้เราและผลิตเซลล์ทำงานอย่างหนัก หรือที่เรียกกันว่า ‘ชั้นหนังกำพร้า’ ลึกลงไปที่ชั้นหนังแท้ เต็มเปี่ยมไปด้วยเครือข่ายเส้นใยที่ยึดเกี่ยวกับตัวเราไว้ ยาวกว่าหลายไมล์ เส้นเลือดจะหดตัวและขยายออกเพื่อควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย ผิวหนังจะช่วยในการกระจายความร้อน ต่อมเหงื่อที่ขดอยู่ในชั้นหนังแท้จะปลดปล่อยเหงื่อออกมาที่ผิวหนัง ช่วยทำให้ร่างกายเย็นลงภายในไม่กี่วินาที แม้แต่สันเล็กๆ ที่ปลายนิ้วมือก็ยังมีต่อมเหงื่ออยู่ใต้ผิว
นักวิทยาศาสตร์เรียนรู้ว่าอวัยวะขนาดใหญ่ที่สุดของเรา มีบทบาทในการดึงดูดเพศตรงข้าม ไม่ใช่ผ่านการสัมผัสแต่ผ่านทางสารเคมี ผิวหนังจึงเป็นอวัยวะทางเพศอย่างหนึ่ง เป็นเพราะสามารถปลดปล่อยสารเคมี กลิ่นที่ปลดปล่อยจากต่อมบนผิวหนังนั้น มีผลต่อเกมการหาคู่ของมนุษย์ นั่นเป็นสิ่งที่ทำให้เราไม่ต้องสงสัยเลยว่าทำไมจึงสงวนไว้เป็นของส่วนตัว
คำถามพื้นฐานที่หลายคนสงสัยว่า ทำไมสีผิวจึงแตกต่างกันมาก? ความสับสนวุ่นวายนี้เกิดขึ้นมานานหลายรุ่นแล้ว นักภูมิศาสตร์ นักชีววิทยา และนักมานุษยวิทยา ร่วมมองหาคำตอบมานานหลายปี แต่คำตอบมิได้ขึ้นอยู่กับความแตกต่างของคนแต่มาจากสิ่งที่เราทุกคนแบ่งปันร่วมกัน
ย้อนกลับไปอีกครั้ง เมื่อหลายล้านปีก่อน ตอนที่มนุษย์ยุคแรกสูญเสียขน พวกเขาเสี่ยงต่อรังสียูวีมากขึ้น ดังนั้นผิวหนังมนุษย์ยุคแรกจึงผ่านการเปลี่ยนแปลงที่จะช่วยป้องกันจากรังสียูวีที่เกิดขึ้นคือ วิวัฒนาการขยายเม็ดสีบนผิวหนัง เมลานินเป็นโมเลกุลโบราณ ที่ผลิตในผิวหนังโดยเซลล์สีพิเศษที่มีรูปทรงคล้ายดาวทะเลขนาดจิ๋ว หากถูกกระตุ้นด้วยแสงแดด พวกมันแก่วงแขนเหมือนกับท่อเชื้อเพลิงปั๊มเมลานินออกมาสู่เม็ดสีของผิวหนังที่อยู่ใกล้ๆ เซลล์เหล่านั้นจะอพยพขึ้นมาอยู่ที่พื้นผิว มันจะช่วยปกป้องร่างกายด้วยเกราะที่สร้างจากเมลานิน ซึ่งมีเมลานินมากการคุ้มครองก็จะมากขึ้นเรื่อยๆและยิ่งทำให้ร่างกายมีผิวสีที่เข้มขึ้น
แต่ถ้าหากว่าเมลานินดีกับเราขนาดนี้ ทำไมบางคนจึงมีสีอ่อนล่ะ? คำถามนี้ทำให้มีการใช้เครื่องมือวัดระดับรังสีอัลตร้าไวโอเล็ตบนพื้นผิวโลกมันน่าทึ่งมากทีเดียว ที่ซีกโลกเหนือจะมีบางแห่งได้รับแสงแดดตลอดทั้งปีแต่ที่รอบเส้นศูนย์สูตรได้รับยูวีน้อยกว่าที่อื่น ๆ บริเวณขั้วโลก
เวลาผ่านไป มนุษย์หลายรุ่นอพยพจากแอฟริกาไปยังบริเวณที่ได้รับรังสีอัลตร้าไวโอเล็ตน้อยกว่า มันทำให้ผิวหนังของพวกเขามีสีอ่อนลง ผิวมนุษย์ที่หลากหลายก็คือภาพสะท้อนของแสงแดด ที่มีลักษณะต่างกัน บางคนก็ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้เป็นอย่างดี และนี่คือคำอธิบายของวิทยาศาสตร์ที่ทำให้เราหมดกังวล
เราอาศัยผิวหนังของเราตลอดชีวิต และมันตอบแทนโดยบันทึกชีวิตที่เราใช้โดยปรากฏอยู่ในริ้วรอยบนผิวหนัง แม้บางครั้งมันคือชุดแห่งความอยู่รอดที่แปลกประหลาดและทำให้มนุษย์เราเป็นเช่นทุกวันนี้
(748)