สกังก์ เป็นสัตว์ที่ขึ้นชื่อในเรื่องการป้องกันตัว ด้วยการฉีดสารเคมีสีเหลืองที่มีกลิ่นฉุนมาก ตลบอบอวลไปในอากาศได้เป็นเวลานาน ซึ่งสารเคมีนี้ปล่อยมาจากต่อมลูกกลมคล้ายลูกองุ่น 2 ต่อมใกล้ก้น เมื่อต้องการจะปล่อยก็ใช้กล้ามเนื้อบีบพ่นออกมา ซึ่งสามารถพุ่งได้ไกลถึง 7 เมตร แม้จะหันหลังให้แต่สกังก์ก็สามารถปล่อยได้แม่นยำ โดยเฉพาะบริเวณใบหน้าและดวงตาของผู้รุกราน
ซึ่งสารเคมีนี้มีฤทธิ์ทำให้รู้สึกแสบร้อนและตาบอดไปชั่วขณะ ทำให้สกังก์มีเวลาพอที่จะหนี แต่ก็ไม่สามารถใช้ได้กับสัตว์นักล่าทุกประเภท เช่น นกเค้าใหญ่ ซึ่งไม่มีประสาทดมกลิ่นและจู่โจมเหยื่อจากด้านหลังอย่างเงียบเชียบ ซึ่งหากสกั๊งปล่อยเจ้าสารเคมีนี้แล้ว ต้องไว้เวลาถึง 10 วันในการผลิต ดังนั้นพวกมันจึงไม่ใช้วิธีนี้บ่อยนัก หากไม่จำเป็นจริงๆ
โดยทั่วไปแล้ว สกังก์มีประสาทสัมผัสการดมและการได้ยินที่ดีเยี่ยม ทว่ามีประสาทสายตาที่แย่และเมื่อหลงทางจะไม่สามารถจดจำทางถิ่นที่อยู่ของตนเองได้ พวกมันมีขนาดลำตัวยาวตั้งแต่ 40 – 70 เซนติเมตร และน้ำหนักที่มีตั้งแต่ 0.5-10 กิโลกรัม แตกต่างออกไปตามแต่ชนิด มีร่างกายที่ยาวพอสมควร มีขาที่ล่ำสัน และมีกรงเล็บหน้าที่ยาว ซึ่งทำให้สามารถขุดดินได้เป็นอย่างดี มีขนหางยาวฟูเป็นพวง สีของขนที่พบได้มากที่สุด คือ สีดำที่มีริ้วเป็นสีขาวคล้ายรูปตัววี สกังก์ทุกตัวจะมีริ้วลายตั้งแต่เกิด ถึงแม้ว่ารูปแบบของริ้วลายจะแตกต่างกันออกไปโดยขึ้นอยู่กับชนิด ในฤดูหนาวสกังก์จะไม่จำศีลแต่จะเคลื่อนไหวน้อยลง
เป็นสัตว์ที่หากินในเวลากลางคืน ซึ่งกินได้ทั้งสัตว์และพืชแต่ส่วนใหญ่กินสัตว์เล็กๆ เช่น ไส้เดือน, หนอน, ดักแด้, หอยทาก และสัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็ก หากจำเป็นจริงๆจะกินผลไม้ป่าและเมล้ดพืชบางชนิด โดยจะอาศัยอยู่ในทุ่งหญ้าโล่งหรือป่าละเมาะ บางครั้งเข้ามาถึงที่อยู่มนุษย์จึงทำให้พวกมันถูกจัดเป็นสัตว์รังควานจำนวนหนึ่ง
(622)
You must be logged in to post a comment.