Uluru สถานที่พบปะของชาวอะบอริจินี

โขดหินอุลูรู หรือ หินแอร์ส (Ayers Rock) ตั้งอยู่ในตอนกลางของประเทศออสเตรเลีย เป็นโขดหินขนาดใหญ่มีขนาดความสูง 348 เมตร เส้นรอบวงที่ฐานวัดได้ 9 กิโลเมตร ซึ่งสามารถมองเห็นได้ไกลกว่า 100 เมตร สีสันของหินแปรเปลี่ยนตลอดทั้งวัน มีตั้งแต่สีทอง สีแดง ชมพู สีทับทิม สีแดงก่ำ และสีม่วง โดยในช่วงกลางวันจะมีสีแดง แต่พอตกเย็นจะเปลี่ยนเป็นสีม่วง

ลักษณะเป็นหินอาร์โคส  และมีปริมาณแร่ฟันม้าหรือแร่เฟลด์สปาร์อยู่มาก ด้านบนมีถ้ำและแอ่งน้ำ บริเวณพื้นผิวของหินโดนความร้อนจากแสงอาทิตย์และลมตามธรรมชาติ ทำให้ผิวแตกหลุดออกเป็นสะเก็ดร่วงหล่นลงพื้นทับถมกันเป็นกำแพงภูเขาขนาดใหญ่

โขดหินแห่งนี้เป็นส่วนหนึ่งของยอดเขา ซึ่งจมลึกลงไปกว่า 6 กิโลเมตร โดยเคยเป็นส่วนหนึ่งของพื้นมหาสมุทรใจกลางทวีปออสเตรเลีย เมื่อประมาณ 550 ล้านปีที่แล้ว หลังจากนั้นการเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลกก็ทำให้น้ำในมหาสมุทรลดลง และเคลื่อนโขดหินขึ้นมา

 

<------------->

<------------->

 

โขดหินอูลูรูถือเป็นสัญลักษณ์ของประเทศออสเตรเลียอย่างหนึ่ง ซึ่งชื่อของอูลูรูเป็นภาษาอะบอริจินของชาวอะบอริจินี ชนชาวพื้นเมืองของออสเตรเลีย แปลได้ว่า “สถานที่พบปะ” ในแต่ละปีจะมีนักท่องเที่ยวมาที่นี่กว่า 400,000 คนต่อปีและเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ การปีนอูลูรูถือได้ว่าเป็นกิจกรรมท้าทาย ซึ่งในทุก 2-3 วัน เจ้าหน้าที่อุทยานจะต้องออกมาช่วยชีวิตใครซักคน

หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2538 ทางการได้สร้างเส้นทางเดินชมธรรมชาติเป็นทางเลือกให้ และสำหรับคนมือไวใจเร็ว อยากเก็บของหินสักก้อน ของที่ระลึกสักชิ้นกลับบ้าน เจ้าหน้าอุทยานก็มักจะได้รับจดหมายส่งคืนก้อนหินเฉลี่ยสัปดาห์ละ 2 ฉบับ โดยผู้ส่งแจ้งว่า หลังจากมาพักที่นี่ พวกเขาได้รับโชคร้ายต่างๆนานา กลับไป

(1163)